โรคปากและเท้าเปื่อย อาการ การป้องกัน แนวทางกันรักษา | Foot and Mouth Disease Virus



สวัสดีครับ พบกันอีกเช่นเคยกับ ดลรวี ภัทรกุลพิมล อาสาปศุสัตว์ดีเด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร นะครับ ในฐานะที่ผมเป็นอาสาปศุสัตว์ ในบทความนี้ผมจะมาให้ความรู้ในเรื่องของโรคสุดฮิด  ยอดฮิตในวงการปศุสัตว์บ้านเราเลยทีเดียว นั้นก็คือโรคปากและเท้าเปื่อย หรือเรียกว่า Foot and Mouth Disease Virus  นั่นเองนะครับ ครั้งนี้ผมจะมาอธิบายเกี่ยว กับ อาการ การป้องกัน และแนวทางการรักษา เพื่อให้ความรู้กับเกษตกร เพื่อรู้เท่าทันภัยที่มาจากโรคนี้นะครับ แต่โรคนี้เป็นโรคระบาดในสัตว์ ถึงแม้ว่าตามหลักการแล้วโรคนี้สามารถติดต่อสู่คนได้ทางผิวหนังที่มีบาดแผล ซึ่งจะติดต่อโดยตรงทางเยื่อบุเมือก หากโรคนี้ติดต่อสู่คนในทางหลักการแล้วจะไม่รุนแรงอะไรมากนะครับ ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้น ไม่ต้องตื่นตระหนก ตกใจอะไร  ถึงกระนั้นก็ไม่ควรประมาทเช่นกันนะครับ เพียงแต่โรคนี้เป็นโรคระบาดในสัตว์ เป็นเชื้อไวรัส ที่ติดต่อกันได้ทางอากาศ สารคัดหลั่ง ที่จะทำให้เกิดความสูญเสียในวงการปศุสัตว์ สร้างความสูญเสียให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และระบบเศรฐกิจ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ทั้งในระดับ จุลภาค และ มหภาค โดยรวมนะครับ มีผลต่อการส่งออก เพราะฉะนั้นเราต้องรู้เท่าทันและป้องกัน ล่วงหน้านะครับ เพื่อลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เราต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าโรคนี้นะครับไม่สามารถทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ แต่ที่สัตว์อาจเสียชีวิตหลังจากติดโรคนี้นั้นเกิดจาก โรคแทรกซ้อน ที่มีอาการหลังจากที่สัตว์ติดเชื่อโรคปากและเท้าเปื่อยไปแล้ว 2-8 วันนะครับ เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาตามอาการที่สัตว์เป็นนะครับ เพราะโรคนี้คือเชื้อไวรัส ไม่มียารักษา แล้วเชื่อจะตายหายไปเองเราเพียงแต่ป้องกันโดยฉีดวัคซีน และรักษาตามอาการโรคแทรกซ้อนเท่านั้น ถึงกระนั้น โรคนี้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรฐกิจในวงกว้างได้ หากมีการระบาดมากขึ้น เพราะฉะนั้น ในฐานะที่ผมเป็นอาสาปศุสัตว์นะครับ ผมอยากจะขอขอความร่วมือ ร่วมรณรงค์ ให้ผู้เลี้ยงสัตว์กีบคู่ของเกษตรกรทุกท่าน  ให้มีการฉีดวัคซีนกันโรคปากและเท้าเปื่อยกันอย่างทั่วถึงนะครับ เพื่อลดความสูญเสียในวงการปศุสัตว์ในวงกว้างนะครับ เพราะทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยตัวนี้บริการให้กับเกษตรกรอยู่แล้วนะครับ... มาถึงตรงนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคปากและเท้าเปื่อยนี้กันเลยดีกว่านะครับ

ชมคลิปวีดีโอการบรรยายเกี่ยวกับ โรคปากและเท้าเปื่อย คลิ้กที่นี่


โรคปากและเท้าเปื่อยคืออะไร และเกิดจากอะไร 

โรคปากและเท้าเปื่อย หรือเรียกว่า Foot and Mouth Disease Virus หรือที่ทุกคนเรียกกันคือ “โรค FMD” หรือ “โรคกีบ”  นั้นเองนะครับ โรคนี้คือโรคอุบัติซ้ำ เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) เป็นโรคระบาดอย่างรวดเร็วในกลุ่มสัตว์กีบคู่ โค กระบือ แพะ แกะ กวาง  อูฐ  สุกร และ สัตว์ชนิดอื่นๆ เช่นช้าง เป็นต้น (ยกเว้นม้า) และเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยมีทั้งหมด 7 ไทป์ (serotype) ได้แก่ โอ(O)เอ (A)ซี (C)เอเชียวัน (Asia1)แซทวัน (SAT1) แซททู (SAT2)และแซททรี (SAT3)ในประเทศไทยเคยพบระบาดอยู่ 3 ไทป์คือ โอ เอ และเอเชียวันนะครับ ทั้งนี้ไวรัสแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นไทป์ย่อย (subtype) รวมทั้งหมด 64 ไทป์ย่อย คือ ไทป์โอมี 11ไทป์ย่อย ไทป์เอมี 32ไทป์ย่อย  ไทป์ซีมี 5ไทป์ย่อย  ไทป์เอเชียวันมี 3ไทป์ย่อย ไทป์แซทวันมี 6ไทป์ย่อย ไทป์แซททูมี 3ไทป์ย่อย  และไทป์แซททรีมี 4ไทป์ย่อย และ  ทั้งนี้เชื้อไวรัสแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของ โรคปากและเท้าเปื่อยนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งกันละกัน เพราะฉะนั้น สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะ O จะสามารถเกิดโรคที่เกิด จาก A และ ASIA1 ได้นะครับ... และทั้งนี้ยังไม่พบการระบาดของ ASIA1 ในประเทศไทยมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2541 จนกระทั่งทุกวันนี้...เข้าใจกันง่ายๆก็คือมีการระบาดอยู่ เพียง O และ A ส่วน ASIA1 พบระบาดครั้งล่าสุดเมื่ดต้นปี 2541 นั้นเองนะครับ...และยังไม่พบ ASIA1 ระบาดมาจนถึงทุกวันนี้... ด้วยเหตุที่โรคFMD เป็นโรคที่ติดต่อง่าย ระบาดรวดเร็ว และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในวงกว้าง รวมทั้งยังส่งผลถึงการค้าระหว่างประเทศ องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศจึงกำหนดให้โรคนี้อยู่ในบัญชีโรคระบาดสัตว์บกทั้งนี้ประเทศไทยได้ประกาศให้โรคFMD โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 นะครับ  *** (และมีฉบับที่เแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2542)***


สัตว์ที่ติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยมีอาการอย่างไร?

สัตว์ติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย หรือเรียกว่า Foot and Mouth Disease Virus จะมีการแสดงอาการความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรค ความแข็งแรงของตัวสัตว์ และปริมาณเชื้อโรค  และมีอาการ ซึม ไข้สูง นํ้าลายไหล มีเม็ดตุ่มใสพุพอง เกิดขึ้นภายในปาก ลิ้นเหงือก เพดานปาก ข้างแก้ม ซอกกีบ ต่อมาเม็ดตุ่มจะแตกเป็นแผล สัตว์จะแสดงอาการขาเจ็บ เดินกระเผลก นํ้าลายไหลมากขึ้น มีแผลในปาก ลิ้น เท้า และหัวนม มีไข้สูง ซูบผอม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ในสัตว์ที่กำลังให้นม น้ำนมจะลด ทั้งนี้อาการในสัตว์ป่วย จะมีตั้งแต่สัตว์ป่วยไม่แสดงอาการ และแสดงอาการเพียงเล็กน้อย จนถึงแสดงอาการรุนแรง โดยอาการของโรค ในระยะแรก หลังจากได้รับเชื้ อไวรัสปากและเท้าเปื่อย 2 - 8 วัน สัตว์จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร เกิดเม็ดตุ่มใสที่เยือบุภายในช่องปาก หรือลิ้ น หรือ เหงือก หลังจากนั้ นตุ่มใสจะแตก และเนื้ อเยื่อจะลอก ทําให้สัตว์เจ็บปาก กินอาหารลําบาก จนกระทั้งกินอาหารไม่ได้ในระยะที่สอง เชื้ อจะเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกายผิวหนังที่เท้าจะบวมแต่ง มีน้ำเหลืองขังอยู่ภายใน แล้วแตกออกเป็นแผลมักพบบริเวณไรกีบหรือซอกกีบ ซึ่งอาจเปื่อย ลอกคราบ และอาจทําให้ขาสัตว์เสียได้ นอกจากนั้นหากเกิดในโคนม จะทําให้อัตราการให้นมลดลง และจะหยุดให้นมในที่สุดหากเกิดในโคเนื้ อและสุกร จะทําให้สัตว์น้ำหนักลด มีผลให้เกษตรกรสูญเสียทั้ งเงินและเวลาในการเลี้ยง และหากเกิดในสัตว์ทีกําลังท้องอาจทําให้สัตว์เกิดการแท้ง และมีปัญหาการผสมไม่ติดได้...


โรคปากและเท้าเปื่อยมีอยู่ที่ไหนบ้างและติดต่อได้อย่างไร?

เส้นทางการได้รับเชื้อโรคนี้จะได้รับจากการกินอาหารหรือนํ้าที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ การหายใจ เอาเชื้อที่ปะปนอยู่ในอากาศเข้าไป สัตว์ที่เป็นโรคจะขับเชื้อไวรัส จากเม็ดตุ่มนํ้าใส นํ้าลาย มูลสัตว์การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นโรคเข้าฟาร์ม หรือเลี้ยงใกล้ๆยานพาหนะ คน อุปกรณ์ ของใช้ เช่นถังนม รองเท้าบู้ท เสื้อผ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนจากรถและคนที่มีการเข้าฟาร์มหลายแห่งและไม่มีการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งจากการสอบสวนโรคในหลายครั้งพบว่ามีสาเหตุจาก มีรถรับซื้อสัตว์เข้าฟาร์ม และเริ่มมีปัญหาในสัตว์กลุ่มที่อยู่บริเวณนั้นตามมานั่นเอง


การติดต่อของโรคระหว่างสัตว์ด้วยกัน?

โรคนี้ สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ได้ ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม อีกทัง ยังแพร่ระบาด ได้อย่าง รวดเร็วและกว้างขวาง โดยเฉพาะกับสัตว์ ที่ไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค จะติดโรคจากสัตว์ที่ป่วยได้โดยง่าย การติดต่อของโรคสามารถเกิดขึ้น ได้ 2 ทาง คือ

1. การได้รับเชื้อ ที่ปนเปื อนมากับยานพาหนะ ทีใช้ในการบรรทุกสัตว์ คน เสื้อ ผ้า รองเท้า สัตว์เลี้ย ง อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมทั้ง เครื่องมือเครื่องใช้ภายในคอกสัตว์

2. การสัมผัสจากสัตว์ป่วยโดยตรง สารคัดหลั่ง หรือ สิ่งขับถ่ายจากสัตว์ป่วย เช่น  น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ของเหลวจากตุ่มใส สัตว์ป่วยสามารถขับไวรัสออกมา ได้แม้จะไม่แสดงอาการป่วยหรือ อยู่ในระยะฟัก ตัวของโรค สำหรับสัตว์ที่มีการฉีดวัคซีน ป้องกันไว้แล้วเมื่อไวรัสติดเข้าไป จะไม่มีผลทำให้สัตว์แสดงอาการของโรค แต่สัตว์ตัวนั้น จะมีเชื้อ อยู่ในตัว ซึ่งหมายถึงว่าสัตว์ตัวนั hนจะเป็นพาหะของโรคได้นั้นเอง..

สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เช่นการนํานํ้าจากแหล่งนํ้าสาธารณะ โดยโรคจะพบการะบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยไปตามเส้นทางของลําคลองจากต้นนํ้าไปปลายนํ้า เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ต้นนํ้ามีโรคและปล่อยนํ้าล้างโรงเรือนลงคลองและมีฟาร์มอื่นๆสูบนํ้าจากคลองมาใช้ เชื้อโรคจะแพร่จากที่หนึ่งไปกับสัตว์ที่ถูกเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รถบรรทุกสัตว์ คนเลี้ยงสัตว์ หรือพ่อค้า คนสัมผัสกับสัตว์ป่วย อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ป่วย ลมธรรมชาติสามารถพัดพาเชื้อโรคได้ไกลไปได้ถึง 10 กิโลเมตร เลยทีเดียวนะครับ...


โคกระบือ แพะแกะ ยกเว้นสุกร เมื่อหายป่วยจะเป็นตัวอมโรค โดยเชื้อโรคจะอยู่ได้นานกว่า 2 ปี ส่วนในแกะ เชื่อโรคจะอยู่ได้นานประมาณ 9 เดือน และสามารถแพร่เชื้อโรคที่มีอยู่ไปยังสัตว์ตัวอื่นได้

โรคปากและเท้าเปื่อยรักษาได้ไหม?
ไม่มีการรักษาโรคนี้ยกเว้นการรักษาตามอาการเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนนะครับ


การป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ทําได้อย่างไร?

ป้องกันโรคเข้าฟาร์มโดย...งดการนําสัตว์เข้าเลี้ยงใหม่จากที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือจากพื้นที่ที่มีโรคระบาดห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คอกเลี้ยงและโรงรีดนมห้ามยานพาหนะเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มีการเข้าฟาร์มหลายแห่ง เช่นรถขนมูลสัตว์ รถรับซื้อสัตว์ รถขนฟาง รถขนอาหาร เป็นต้นเลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื้อถือได้ว่าไม่มีโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดทําความสะอาดและทําลายเชื้อโรคที่โรงเรือน ถังนมและอุปกรณ์ต่างๆ.

การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้สัตว์ ทําได้อย่างไร?

ฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย หรือเรียกว่า วัคซีน FMD ครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 4–6 เดือน ฉีดกระตุ้นซํ้าภายหลังจากฉีดครั้งแรก 3–4 สัปดาห์ หลังจากนั้นฉีดวัคซีนตามรอบทุก 4-6 เดือนทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ แพะ แกะ ปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่าง เดือน ธันวาคม - มกราคม ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม


และกรมปศุสัตว์ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด คือ ชนิดโอ ชนิดเอ และชนิดเอเชียวัน วัคซีนที่ผลิตมี 2 แบบคือ

วัคซีนเดี่ยว : วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อชนิดเดียว ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้เฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อชนิดเดียวกันเท่านั้น

วัคซีนรวม : วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อทั้งสามชนิดรวมกัน จะสมารถป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อทั้งสามชนิด


โรคนี้ทําให้เกิดผลเสียหายอย่างไร?

โดยทั่วไปโรคปากและเท้าเปื่อยไม่ทําให้สัตว์ตาย ยกเว้นในลูกสัตว์ขนาดเล็กที่อาจเสียชีวิตได้และในสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน จะแสดงอาการรุนแรงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูสุขภาพนานมากสัตว์บางตัวอาจไม่สามารถกลับมามีผลผลิตได้เหมือนเดิม ทั้งนี้ สัตว์จะมีอาการสูบผอม น้ำหนักลด ไม่แข็งแรง ใช้งานไม่ได้ น้ำนมลด ส่งเนื้อและผลิตภัณฑ์ออกต่างประเทศไม่ได้ ทำให้สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมเลยทีเดียวนะครับ


การควบคุมและป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในประเทศไทย

1.การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา  
2.การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โรคปากและเท้าเปื่อย โดยการฉีดวัคซีน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3.การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์
4.การทําลายสัตว์ป่วย

-กรณีที่เกิดโรคปากและเท้าเปื่อย ขึ้ นในพื้ นที่ที่ประกาศเป็นเขตปลอดโรคแล้ว ให้ทําลาย 100 เปอร์เซ็นต์ทันที 

-กรณีทีเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยขึ้ นในพื้ นทีทียังไม่ได้มีการประกาศเป็นเขตปลอดโรค ให้ทําลายเฉพาะกรณี โดยเฉพาะที่ทําลายแล้วสามารถควบคุมโรคได้

-กรณีทีตรวจพบโรคในสัตว์ที่คลือนย้ายไปต่างท้องทีการทําลายสัตว์ป่วยตามระเบียบที่กรมปศุสัตว์กําหนด สามารถชดใช้เงินให้แก่เจ้าของสัตว์ไม่เกิน 75% ของราคาสัตว์ในท้องตลาดขณะนั้ นตามกฎกระทรวง ฉบับที 2 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ยกเว้นกรณีเจ้าของสัตว์จงใจกระทําผิด


ทําลายเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยได้อย่างไร?

การล้างสิ่งสกปรก... (ดิน เศษอาหาร)ใช้นํ้าสะอาดล้างพื้นผิว หรืออุปกรณ์ต่างๆก่อนที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อในลําดับต่อไปการทําลายเชื้อโรค...ต้องทําให้พื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่จะทําลายเชื้อโรคเปียกชุ่มไปด้วยนํ้ายาโดยต้องให้นํ้ายาฆ่าเชื้อมีเวลาทําปฏิกิริยาอย่างน้อย15-30 นาที ตามที่ระบุโดยในการเลือกใช้ให้คํานึงถึงความเหมาะสมกับวัสดุ อุปกรณ์ เช่นโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (นํ้ายาซักผ้าขาว 1 ขวด ต่อนํ้า 2 ขวด ระยะเวลาสัมผัส 30 นาที )โซดาไฟ โซเดียมคาร์บอเนต 2%หรือยาฆ่าเชื้อโรคอื่นๆ เช่น กลูตาราลดีไฮด์ ใช้ตามคําแนะนําข้างขวด



ข้อควรระวัง ในกรณีที่มีการระบาดแบบ ไทป์ O ต้องฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดไทป์โอ โมโนวาเลนท์

เนื่องจากในประเทศมีการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอในหลายพื้นที่ และวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดไตรวาเลนท์ (โอ เอ และเอเชียวัน) มีข้อจํากัดคือ คุณสมบัติของวัคซีนไทป์โอแตกตัวง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับเอ และเอชียวัน ซึ่งส่งผลให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคชนิดโอไม่สูงเท่าที่ควรดังนั้นในภาวะที่มีปัญหาการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอ ปริมาณมากๆ จึงมีความจําเป็นต้องใช้วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอโมโนวาเลนท์ เพื่อเร่งให้ภูมิคุ้มกันสูง และสามารถป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดโอที่มีการระบาดอยู่ในขณะนี้ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ข้อควรระวัง ทําไมฉีดวัคซีนเป็นประจําตามรอบแล้วยังเกิดโรค ??

ความคุ้มโรคของวัคซีนไม่สามารถคุ้มโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อย ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น สัตว์ต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียดและหากพื้นที่ใดมีเชื้อไวรัสอยู่ในพื้นที่เป็นปริมาณมาก เช่น มีการนําเชื้อไวรัสเข้าฟาร์ม เมื่อภูมิคุ้มกันที่ตัวสัตว์จะไม่สูงพอทําให้มีโอกาสเกิดโรคได้แต่อาการและความเสียหายจะไม่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนนะครับ


วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยที่ใช้ในขณะนี้มีแบบไหนบ้าง?

วัคซีน สําหรับ โค กระบือ แพะ แกะ กรมปศุสัตว์ได้ผลิตวัคซีน เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดนํ้า (aqueous vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งขณะนี้มี 2 แบบ คือ ไบวาเลนท์หรือรวม 2 ไทป์ (O และ A) และ O โมโนวาเลนท์ วัคซีน สําหรับ สุกรเป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดนํ้ามันผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย


แจ้งข่าวสัตว์ป่วยได้ที่ไหน?

สํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
สํานักงานปศุสัตว์เขต
สํานักงานปศุสัตว์พื้นที่
สํานักงานปศุสัตว์จังหวัด


ค่าบริการรักษาสัตว์ป่วยเท่าไหร่?

เมื่อเกิดโรคขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร
และมีการแจ้งการเกิดโรคทางรัฐจะดําเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาด
โดยเป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

กล่าวสรุปกันแบบง่ายๆก็คือ บ้านเมืองเราพบการระบาดของโรค ทุกๆปี มากน้อยต่างกันไปแต่ละปี แต่พบการระบาดทุกปีในต่างๆพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรให้ความาคัญในการป้องกันโรคนี้โดยการฉีดวัคซีน ตามระบบของกรมปศุสัตว์แนะนำนะครับ เพื่อลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถึงตรงนี้คงจะเข้าใจเกี่ยวกับโรคปากและเท้าเปื่อนกันแล้วนะครับไม่มากก็น้อย และหวังว่าคลิปนี้จะมีประโยชน์กับเกษตรกรทั้งมือใหม่และมือเก่ากันทุกๆท่านนะครับ สำหรับท่านใดเห็นว่า บทความ นี้มีประโยชน์สามารถกดแชร์ และส่งต่อๆ กันไป ได้นะครับ ผมไม่หวงนะครับสามารถแชร์ได้เพื่อเป็นวิทยทาน แหล่งความรู้ให้กับคนทั่วไปเข้าใจนะครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ เงินทองไหลมาเทมากันทุกๆท่านนะครับ สำหรับบทความนี้ผมขอตัวลาไปก่อนพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปของผมนะครับ อย่าลืม กดไล กดแชร์ กด ติดตามกันด้วยนะครับ สวัสดีครับ ..



ดลรวี ภัทรกุลพิมล
อาสาปศุสัตว์ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Website : https://www.anragon.com/
Facebook : https://www.Facebook.com/LivestockNJ
Youtube :  https://goo.gl/F6d8A4


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น