ไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) แพร่เชื้อติด สัตว์เลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ และ สัตว์ป่า ได้หรือไม่? แพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้หรือไม่?


สวัสดีครับ พบกันอีกเช่นเคย กับผม ดลรวี ภัทรกุลพิมล อาสาปศุสัตว์ ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร นะครับ บทความนี้เป็นบทความพิเศษที่ผมทำขึ้นในช่วงของการระบาดของโรคโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 นะครับ...ชมคลิปประกอบ คลิ๊กที่นี่ https://youtu.be/gWVZteSdspk

สืบเนื้องมาจาก ที่ผมเองเป็นอาสาปศุสัตว์ และได้รับคำถามเป็นจำนวนมาก ในช่วงระยะเวลานี้ ว่าสัตว์สามารถติด เชื้อ ไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ สัตว์สามารถแพร่เชื้อโรคในสัตว์ด้วยกันได้หรือไม่? และสัตว์สามารถแพร่เชื้อโรคสู่คนได้หรือไม่?...คือ 3 คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิดที่ถูกถามมานะครับ  ผมจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล ที่มีการอับเดตในปัจจุบัน และยังสอบถามจาก กลุ่มสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องโรคติดต่อในสัตว์ และผมจะนำมาสรุปย่อยให้เรื่องยากๆ ให้เข้าใจกันง่ายขึ้นนะครับ... ก่อนอื่นเลย เรามาทำความรู้จักและรู้ที่มาที่ไปของเชื้อไวรัสโคโรน่ากันก่อนนะครับ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรน่าตัวนี้นะครับ...


ไวรัสโคโรน่าคืออะไร
ไวรัสโคโรน่าเป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ที่สุดในบรรดาไวรัสที่พบในทั้งสัตว์และคนนะครับ  ไวรัสโคโรน่ายังเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่าง ๆ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยอย่างรุนแรง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) ที่เราคุ้นหูและเรียกกันว่าโรคเมอร์ส และ  โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ที่เราคุ้นหูและเรียกกันว่าโรค ซ่าร์ส นะครับ และไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้คือ สายพันธุ์ไวรัสโคโรน่า ที่ไม่เคยถูกพบในคนมาก่อน และไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า 2019-nCoV หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือที่เรารู้จักกันดีว่า โควิด-19 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนนั้นเอง มีรายงานการระบาดในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นครั้งแรก ในเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และ ยังมีข้อสงสัยกันอยู่นะครับว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้คือชนิดเดียวกับโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) หรือไม่...  แท้จริงแล้วไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้มีการยืนยันแล้วนะครับว่าไม่ใช่ไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงหรือ SARS ถึงแม้ไวรัสทั้งสองชนิดนี้มาจากวงศ์เดียวกันแต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันนะครับ พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ไวรัสทั้งสองตัวนี้ คือลูกพี่ลูกน้องกัน...



ที่นี้เรามาดูความอัตรายของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 กันว่าอันตรายอย่างไรนะครับ

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 นี้จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิตได้แต่พบไม่บ่อยนัก แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างไกล้ชิด เราคงทราบกันแล้วกับที่มีการระบาด ในประเทศ อิตาลี นะครับ ประเทศมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงมากและระบาดอย่างรวดเร็วเช่นกัน...


เรามารู้จักเจ้าไวรัสโคโรน่าว่ามีอะไรบ้าง และไวรัสโคโรน่าแบ่งแยกออกให้เห็นภาพชัดๆ เป็น 4 กลุ่มได้ดังนี้

1- Alpha Coronavirus  แพร่เชื้อในสัตว์เลี้ยง ในสุนัข แมว และ สัตว์เศรษฐกิจ สุกร *** ไม่มีการติดต่อสู่คน ***

2- Delta Coronavirus แพร่เชื้อในสัตว์เศรษฐกิจ พบในไก่งวง และ ในสุกร *** ไม่มีการติดต่อสู่คน *** 

3- Gamma Coronavirus  แพร่เชื้อในสัตว์เศรษฐกิจ ไก่ *** ไม่มีการติดต่อสู่คน ***

4- Beta  Coronavirus แพร่เชื้อในคน  *** ติดต่อสู่คน***  และ ติดต่อจากสัตว์สู่คนนะครับ คือ โรคเมอร์ส และ โรคซ่าร์ส


 Alpha Coronavirus

* Canine Coronavirus (CCV) ทำให้เกิด โรคลำไส้อักเสบในสุนัข
* Feline Coronavirus  (FCOV) ทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (FIP) ในแมว
* Porcine epidemic diarrhea (PED) ทำให้เกิดโรคท้องร่วงติอต่อในสุกร
* สรุป กลุ่ม Alpha Coronavirus  แพร่เชื้อในสัตว์เลี้ยง สุนัข แมว และสัตว์เศรษฐกิจ สุกร - ไวรัสกลุ่มนี้ไม่ติดต่อสู่คน -


Delta Coronavirus
   
กลุ่มนี้มักพบในสัตว์สัตว์เศรษฐกิจ มักพบในไก่งวง และกลายพันธุ์มาเป็น Porcine Delta Coronaviru (PDCOV) แพร่เชื้อในสุกร
สรุป กลุ่ม Delta coronavirus    แพร่เชื้อในสัตว์เศรษฐกิจ ไก่งวง และ สุกร  - ไวรัสกลุ่มนี้ไม่ติดต่อสู่คน -


Gamma Coronavirus

* Infectious bronchitis virus (IBV)ให้เกิดโรคหลดลมอักเสบติดต่อในไก่
สรุป กลุ่ม Gamma Coronavirus  แพร่เชื้อในสัตว์เศรษฐกิจ ไก่ -ไวรัสกลุ่มนี้ไม่ติดต่อสู่คน-


Beta Coronavirus 

กลุ่มก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของคน
- ไข้หวัดทั่วไป
- SARS-Cov
- MERS-Cov
- โคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19

สรุป กลุ่ม Beta Coronavirus
- โควิด-19 แพร่เชื้อในคน และ ติดต่อสู่คน
- SARS และ MERS แพร่เชื้อในคน  ติดต่อสู่คน และ ติดต่อจากสัตว์สู่คนนะครับ


คนทั่วไปสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 จากสัตว์ได้หรือไม่

จากข้อมูลที่ค้นพบ พบว่า ไวรัสโคโรน่าที่ทำให้เกิดโรคซาร์ส (SARS-CoV) สามารถติดต่อจากชะมดสู่คนได้ ซึ่งมีรายงานพบที่ประเทศจีนในปีพ.ศ. 2545 ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2555 มีรายงานพบไวรัสโคโรน่าที่ทำให้เกิดโรคเมอร์ส(MERS-CoV) ในประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยพบว่ามีการติดต่อจากอูฐหนอกเดียวสู่คน (ในไวรัสโคโรน่าที่เคยทราบสายพันธุ์บางชนิดมีการติดต่อแพร่หลายในสัตว์แต่ยังไม่สามารถติดต่อมาสู่คนได้) ต่อมาทั่วโลกได้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีการระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรน่าได้มากขึ้นปัจจุบันพบได้หลายสายพันธุ์ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ที่พบนี้เป็นสายพันธุ์ที่ 7 ของไวรัสโคโรน่านะครับ

ในส่วนของ โควิด-19 ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสัตว์ชนิดใดที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 แต่ถึงยังไม่มีการยืนยันไม่ได้หมายความว่าท่านจะได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวจากสัตว์ชนิดอื่นๆ หรือจากสัตว์เลี้ยง นะครับ เพราะว่ายังไม่มีการยืนยันแน่ชัดในเรื่องนี้นะครับ  แต่ว่าไม่ต้องตื่นตระหนกนะครับ เป็นที่ทราบกันว่าสัตว์ที่เป็นแหล่งพาหะน่าจะมาจากตลาดค้าสัตว์ในจีนซึ่งเป็นแห่งแรกที่มีการรายงานว่ามีการติดเชื้อในคน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตนเอง หากต้องไปอยู่ในตลาดค้าสัตว์เหล่านี้ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่มีชีวิตอยู่โดยปราศจากการป้องกันใดๆ
สิ่งที่ควรทำคือควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการทำให้สุก การสัมผัสเนื้อดิบ หรืออวัยวะสัตว์ ควรเพิ่มความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารที่ยังไม่ปรุงให้สุกและปฏิบัติตามหลักอาหารปลอดภัยอย่างอคร่งครัดนะครับ...


สัตว์ทั่วไป สัตว์เลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ และ สัตว์ป่า สามารถติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 จากคนได้หรือไม่

จากแหล่งข่าวและสื่อล่าสุดได้รายงานว่าตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หรือ โควิด-19 ในสุนัขรายที่ 2 ของผู้ป่วยโรค โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19  ในฮ่องกง โดยผู้ป่วยรายนี้เลี้ยงสุนัขสายพันธ์เยอรมันเชฟเฟิร์ด (German Shepherd) อายุ 2 ปี 1 ตัว และสุนัขพันธ์ผสมอายุ 4 ปี 1 ตัว สุนัขทั้ง 2 ตัว ได้รับการแยกเพื่อไปกักดูอาการ และเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลังทางจมูก และปาก ในวันที่ 18 มีนาคม 2563 และในวันที่ 19 มีนาคม 2563 พบผลบวกต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19  เพียงในสุนัขพันธ์เยอรมันเชฟเฟิร์ดตัวเดียว เท่านั้น ซึ่งจากนี้กรมประมงและอนุรักษ์ของฮ่องกง (AFCD) จะดำเนินการติดตามอาการสัตว์ และเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมสุนัขทั้ง 2 ต่อไป

จากการตรวจพบในครั้งนี้ ท่านอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะเลขานุการร่วมของคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากยังไม่มีรายงานหรือหลักฐานที่ชัดเจนถึงการติดเชื้อของคนจากสัตว์เลี้ยง หรือแพร่ให้สัตว์อื่นได้ ทั้งนี้สุนัขที่ติดเชื้อต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าว 10 วันหลังวันเริ่มติดเชื้อ ดังนั้นในสุนัขสายพันธ์ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian) ซึ่งเป็นสุนัขที่พบเชื้อในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ 2563 ที่ผ่านมา ที่มีการตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตัวแรก ให้ผลลบต่อการตรวจการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ซึ่งแสดงว่าสัตว์อาจไม่ได้ติดเชื้อหรือติดเชื้อในระดับต่ำจนไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นเองนะครับ
สรุปก็คือ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการยืนยันฟันธงอย่างแน่ชัดว่า สัตว์เลี้ยง สัตว์เศราฐกิจ สัตว์ป่า สามารถติเชื่อไวรัส โคโรน่า-19 จากคนได้ และยังไม่พบว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19  แพร่เชื้อจากสัตว์สู่สัตว์ด้วยเช่นกัน และยังไม่พบการแพร่เชื้อสู่คนด้วย เช่นกันนะครับ ทั้งนี้ถึงอย่างไรเราไม่ควรประมาทในเหตุการปัจจุบันนะครับ เราควรดูแลสัตว์ในการปกครองของเราให้ดีโดยยึดแนวปฎิบัติดังนี้


การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 กับสัตว์เลี้ยง

1- งดการนำสัตว์เลี้ยงออกไปแหล่งชุมชนที่มีคนหมู่มาก
2- ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการสำผัสสัตว์เลี้ยง
3-แยกตัวเราจากสัตว์เลี้ยงหลังจากกลับจากประเทศที่มีกลุ่มเสี่ยงตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข
4- หากเจ้าของสัตว์ป่วยด้วยโรค โคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ควรล้างมือให้สะอาดและใส่หน้ากากอนามัย ก่อนสัมผัสสัตว์เลี้ยง ทางที่ดี ไม่ควรอยู่ไกล้สัตว์เลี้ยงดีที่สุด
5- หากสัตว์ป่วย ให้โทรปรึกษาแจ้งอาการสัตวแพทย์โดยเร็ว


การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ในสัตว์เศรษฐกิจ

ด้านการรักษาสุขอนามัย
1- จุ้มเท้าฆ่าเชื่อ สเปรย์มือด้วยแอลกอฮดล์ก่อนเข้าฟาร์ม
2- สวมหน้ากากอนามัย
3- สร้างความตระหนักด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน
4- หมั่นล้างมอด้วยน้ำ สบู่ แอลกอฮอล์
5- กินร้อน ใช้ช้อนกลาง
6- ไม่ออกไปแหล่งชุมชนที่มีการรวมตัวตคนหมู่มาก

ด้านการคัดกรองคน
1- วัดอุหภูมิร่างกาย สำรวจและคัดกรองคนก่อนเข้าฟาร์ม
2- สื่อสารมาตรการให้บุคคลภายนอกที่มาติดต่อให้รับทราบ
3- หลีกเลี่ยงการจัดประชุมหรือจัดกิจกรรมที่มีคนหนาแน่น
4- ไม่เดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงตามประกาศของสาธารณสุข

ด้านการรักษาความสะอาด
ทำความสะอาดพื้นที่มีการสัมผัสหรือไช่ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ เช่น ราวบันใด ที่จับประตู เป็นต้น

ด้านการใช้รถของฟาร์ม
ก่อนและหลังใช้งานทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆของรถด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์

ด้านการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทำความสะอาดฆ่าเชื้
1- ควบคุมปริมาณและจัดเก็บให้เพียงพอ
2- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์อยู่เสมอ

ด้านการตรวจสอบ
ตรวจสอบการปฎิบัติงานตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันของคนในฟาร์มเป็นประจำ

ด้านมาตรการฉุกเฉิน กรณีฟร์มตั้งอยู่ในเขต ตำบลที่พบผู้ป่วยติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19
1- ทุกคนในฟาร์มสวมใส่หน้ากากอนามัยและทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ
2- สำรวจ คัดกรองบุคคลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
3- งดรับบุคลากรภายนอกเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม


การป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ในด้านสัตว์ป่า 
ในส่วนตรงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ห่างไกลตัวเรามากเพราะเราคงไม่ด้ไกล้ชิดกับสัตว์ป่ากันอยู่แล้วนะครับ คงจะมีแต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทางด้านสัตว์ป่า ตรงนี้คงมีมาตรการรองรับกันดีอยู่แล้วในหน่วยงานนั้นๆ สิ่งที่เราควรงดและระวังก็คือ งดการเข้าไกล้สัตว์ป่า งดการเที่ยวสวนสัตว์ ที่มีสัตว์ป่าในช่วงที่มีการระบาดของโรค โควิด-19 นะครับ..


สรุปให้เข้าใจตรงกันนะครับว่า โคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19  เป็นไวรัสที่อยู่ในวงศ์ Coronaviridae สกุลเดี่ยวกับ SARS-Cov และ MERS-Cov เป็นไวรัสชนิด RNA สายบวก สายเดี่ยว มีเยื่อหุ้ม มีโครงสร้าง คล้ายหนามล้อมรอบ (Spike) และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่า สัตว์เลี้ยง สัคว์เศรษฐกิจ และ สัตว์ป่า ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19  จากคนได้นะครับ ส่วนสุนัขทั้ง 2 ตัว ที่ตรวจพบเชื้อนั้น ตัวที่1 สุนัขสายพันธ์ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian) สรุปว่าไม่ได้ติดเชื้อโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ส่วนตัวที่ 2 สุนัขสายพันธ์เยอรมันเชฟเฟิร์ด (German Shepherd)อยู่ระหว่างเฝ้าดูอาการ ซึ่งสุนัข ทั้ง2ตัวนี้อาจจะไม่ได้ติดเชื้อจากคน แต่อาจเป็นเพราะเชื้อโรคที่ได้รับอาจจะมาจากสารคัดหลั่งของเจ้าของสุนัขเองที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19นี้ จึงทำให้ปนเปื่อนในตัวสัตว์ จึงทำให้ตรวจพบเชื่อในสุนัข2ตัวนี้ ซึ่งแสดงว่าสัตว์อาจไม่ได้ติดเชื้อหรือติดเชื้อในระดับต่ำจนไม่มีสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค แต่ถึงอย่างไร ยังไม่มีรายงานว่า ไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19  ติดต่อจากสัตว์สู้คนได้ และยังไม่มีรายงานว่าติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ด้วยกันได้ เรื่องนี้สบายใจกันได้นะครับ  แต่ทั้่งนี้ทั้งนั้นเราไม่ควรประมาทนะครับ ปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด จะเป็นผลดีต่อตัวเรา และส่วนรวมนะครับ ป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่านะครับ อย่าใช้ชีวิตประมาทในช่วงนี้นะครับ เพราะจริงๆ แล้วไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19  ที่พบนี้ เป็นลูกพี่ลูกน้องของโรคระบาดที่เราคุ้นหูกันอย่าง โรคซาร์ส (SARS) ที่เคยระบาดมาก่อนในเอเชียเมื่อปี 2002 และ โรคเมอร์ส (MERS) ที่เคยระบาดในตะวันออกกลางเมื่อปี 2012 โดยทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัสที่เคยพบว่าติดมาจากสัตว์นะครับ...


สุดท้ายนี้  กินร้อน ช้อนกู ต่างคนต่างอยู่ ห่างกู 2เมตร นะครับ ฟังแล้วดูเหมือนคำหยาบ แต่มันคือสัจธรรมของความจริงที่เราต้องยอมรับและต้องปฎิบัตินะครับ สำหรับบทความนี้ ผมต้องขอจบเพียงเท่านี้นะครับ สำหรับท่านใดเห็นว่า บทความนี้มีประโยชน์สามารถกดแชร์ และส่งต่อๆ กันไป ได้นะครับ ผมไม่หวงนะครับสามารถแชร์ได้เพื่อเป็นวิทยทาน แหล่งความรู้ให้กับคนทั่วไปเข้าใจ และได้ทราบวิธีป้องกันตัวเองจากไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19  นะครับ ช่วยๆกันนะครับ เราต้องชนะครับ เพียงแค่เรามีความเข็มแข็ง มีความรับผิดชอบต่อสังคม คิดบวก และขอให้ทุกท่าน มีสุขภาพ ทั้งกาย และจิตใจ ที่สมบูณ์แข็งแรง รอดพ้นจาก เชื้อร้่ายทั้งปวงนะครับ อย่าลืมนะครับหากมีอาการ มีไข้สูงกว่า 37.5 องศา ไอ จาม  หายใจติดขัด เจ็บคอ นานเกิน 2 วัน  แจ้งสายด่วน 1422 (แจ้งเหตุผู้มีความเสี่ยงติดเชื่อ COVID-19)และพบกับผมใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สำหรับบทความนี้ต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ...


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
- UPDATE - เอเอฟพี รายงานกรณีที่พบว่า แมวติดเชื้อไวรัสโคโรนา รายแรกของโลก หลังได้รับเชื้อปนเปื้อนจากเจ้านายในประเทศเบลเยียม กรณีนี้ถือเป็นการติดต่อจากคนสู่สัตว์เคสที่ 3 ของโลกที่พบ หลังกรณีสุนัขสองตัวในฮ่องกงที่ติดเชื้อจากเจ้าของ ทางการจึงเตือนให้ผู้เลี้ยงสัตว์ระมัดระวังและแยกจากสัตว์เลี้ยงทันทีที่มีอาการป่วย ดร.เอ็มมานูเอล อองเดร โฆษกสำนักงานสาธารณสุขเบลเยียม แถลงว่า กรณีนี้เป็นกรณีหายากมาก และเป็นเคสพิเศษที่แยกเดี่ยว พบโดยนักวิจัยที่คณะสัตวแพทย์ เมืองลีแยช ประเทศเบลเยียม ลักษณะเป็นการติดต่อจากความใกล้ชิดระหว่างสัตว์กับมนุษย์ที่ติดเชื้ออยู่ก่อน เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อปนเปื้อนจากมนุษย์ ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ที่จะทำให้มนุษย์ติดเชื้อจากมันได้

"ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะคิดไปได้ว่า สัตว์จะเป็นพาหะนำโรคของการระบาดในสังคมของเรา" ดร.อองเดรกล่าว

สำนักงานความปลอดภัยทางอาหารของเบลเยียม AFSCA แถลงย้ำด้วยว่า ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงจะแพร่ไวรัสมาสู่คนหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ได้ คำแนะนำป้องกันเบื้องต้นคือ ให้รักษาอนามัยเมื่อเลี้ยงสัตว์ ต้องล้างมือหลังจากอุ้มหรือสัมผัสสัตว์ อย่าให้สัตว์มาเลียหน้า

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เผยว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 จากสัตว์สู่คน หลังพบอุจจาระของแมวที่ประเทศเบลเยียมมีเชื้อไวรัสโควิด-19 ปะปน ระบุรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการติดเชื้อ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------


ดลรวี ภัทรกุลพิมล
อาสาปศุสัตว์ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Facebook : https://www.Facebook.com/LivestockNJ
website : https://www.anragon.com

#แมวติดโควิด #หมาติดโวิด #สุนัขติดโควิด  #ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 #โควิด-19 # COVID-19 #โคโรน่า2019 #โควิด-19 #COVID-19 #โคโรน่า2019 #โคโรน่า #CORONA #novel-coronavirus-2019 #2019-nCoV #MERS #SARS