โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน Kamphaengsaen Beef Breed โคไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน Kamphaengsaen Beef Breed



ประวัติความเป็นมาของโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน

เมื่อพ.ศ.2506  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา และ อาจารย์ประเสริฐ   เจิมพร ได้สั่งน้ำเชื้อแข็งโคเนื้อพันธุ์เฮอร์ฟอร์ดเข้ามาทดลองผสมกับโคไทยและกับโคไทยเลือดผสมเรดซินดิ ที่สถานีฝึกนิสิตทับกวาง ปรากฎว่า ลูกครึ่งที่ได้จากการทดลองโตเร็วขึ้นและไม่มีปัญหาในการเลี้ยง ดู แต่สีสรรค์ของลูกผสมออกจะเลอะเทอะสักหน่อย ต่อมาในปี 2512 เมื่อมีการ ย้ายโคจากสถานีทับกวางมากำแพงแสน จึงได้ใช้น้ำเชื้อพันธุ์ชาโรเลส์เพิ่มขึ้น อีกพันธุ์หนึ่ง พบว่าโคลูกผสมพื้นเมืองกับชาโรเลส์ เติบโตดีและเลี้ยงง่ายอีก ทั้งสีสรรมีความสม่ำเสมอกว่าโคลูกผสมพื้นเมืองกับเฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำการผสม ยกระดับเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็น 75% ปรากฏว่าแทนที่จะดีขึ้นกลับพบว่าโคทีมี เลือดเมืองหนาว 75% เลี้ยงยากมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ(ในสภาพปล่อย ทุ่ง)  ต่อมา ได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโค 3 สายเลือดคือนำพันธุ์บราห์มัน เข้ามาร่วมกับโคไทย  และชาโรเลส์  ทำให้ได้ลูกผสมที่ได้มีสีสม่ำเสมอ เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในระยะแรกๆ(2525-2530)ทำการผสมเป็น 2 แนว ทางคือทำให้มีเลือดโคไทย  25%   บราห์มัน  25%   และชาโรเลส์  50%  เรียก ว่า กำแพงแสน 1 และทำให้มีเลือดโคไทย  12.5%   บราห์มัน  25%   และชาโรเล ส์  62.5%  เรียกว่า กำแพงแสน  2 แต่ภายหลังพบว่า กำแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่า ในสภาพปล่อยทุ่ง จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ เหลือเฉพาะกำแพงแสน1 และเรียกว่า พันธุ์กำแพงแสน ตั้งแต่ปี 2530เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อจด ทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ.2534 นับเป็นโคพันธุ์แรกที่สร้างขึ้น ในประเทศไทย

 สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “กำแพงแสน”  เพราะการตั้งชื่อพันธุ์โคโดยทั่วไป  นิยม ใช้ชื่อถิ่นกำเนิดของโคนั้น  ๆ  เป็นชื่อพันธุ์  เช่น  พันธุ์อเบอร์ดีน-แองกัส  เป็นโคที่กำเนิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างเมืองอเบอร์ดีนกับเมืองแองกัส  ในประเทศอังกฤษ  พันธุ์ซิมเมนทอลเกิดที่หุบเขาซิมเมน  ของประเทศสวิส เซอร์แลนด์  เป็นต้น  ส่วนโคเนื้อพันธุ์แรกที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในประเทศไทย  กำเนิดขึ้นที่อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  จึงให้ชื่อว่า  “พันธุ์ กำแพงแสน”

ทำไมต้องสร้างโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน?

การสร้างโคพันธุ์  “กำแพงแสน”  เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของไทย  คุณสมบัติที่ดีเลิศของโคพื้นเมืองที่ไม่มีโคพันธุ์ใดเทียบได้  คือความ สมบูรณ์พันธุ์  ได้แก่  เป็นสัดเร็ว  ผสมติดง่าย  ทั้ง ๆ ที่ได้รับอาหารไม่ ค่อยสมบูรณ์นักก็ยังให้ลูกทุกปี แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองไม่สามารถนำมา เลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้  ทั้งนี้เพราะมีขนาดตัวเล็ก  และโตช้า  จึง ได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมืองโดยการนำโคพันธุ์บราห์มันมาผสมเพื่อให้ได้ลูกมี ขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้นแต่เป็นที่ทราบกันทั่วโลกว่า  โคอินเดีย  (บราห์มัน และฮินดูบราซิล)  มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์  การยกระดับเลือดโค บราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดยากมากขึ้น  ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่ สมบูรณ์  โคจะไม่ยอมเป็นสัด  นอกจากนี้คุณภาพของเนื้อโคบราห์มันก็ด้อยกว่า โคเมืองหนาว  ดังนั้นทางโครงการจึงพยายามรักษาเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 % เพื่อให้คงความดีของความสมบูรณ์พันธุ์ และจำกัดเลือดบราห์มันไว้ เพียง 25 % เพื่อให้โครงร่างใหญ่ขึ้นโดยที่เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ยังไม่ เกิดปัญหา แล้วนำโคพันธุ์ชาโรเลส์ มาช่วยในเรื่องการให้เนื้อ และการเจริญ เติบโต  แต่โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคเมืองหนาว ซึ่งไม่สามารถทนต่ออากาศร้อน บ้านเราได้ จึงจำกัดเลือดของโคพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 %

โดยสรุปคือ  การสร้างโคพันธุ์  “กำแพงแสน” ก็เพื่อให้ได้พันธุ์ โคที่มีคุณสมบัติเป็นโคเนื้อที่ดีครบถ้วนสำหรับเลี้ยงในสภาพทั่วไปของประเทศ ไทย  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่  (โคพื้นเมือง)  เป็นพันธุ์พื้นฐาน


ในการสร้างและพัฒนาโคพันธุ์ต่าง  ๆ  ที่มีอยู่ในโลกนั้น  ในระยะแรก  ๆ  คุณลักษณะของโคพันธุ์นั้น  ๆ  อาจจะยังไม่ดีนัก  แต่ได้มีการตั้ง คุณลักษณะของโคในอุดมคติที่ต้องการไว้  แล้วพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ โคที่มีคุณลักษณะตรงตามที่ตั้งไว้ โคที่สมาคมจะจดทะเบียนรับรองพันธุ์ให้ก็ ต้องมีลักษณะตรงกับลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้ ในการคัดเลือกโคไว้เป็นพ่อ แม่พันธุ์และในการประกวดโคก็จะอิงลักษณะและคุณสมบัติที่ตั้งไว้นี้เป็นเกณฑ์ ในการตัดสิน  ลักษณะในอุดมคติดังกล่าวนี้เรียกกันตามหลักสากลว่า  มาตรฐาน ความเป็นเลิศ  (Standard  of  Exellence)  สำหรับมาตรฐานความเป็นเลิศของโค พันธุ์กำแพงแสน ได้มีการกำหนดและปรับปรุงครั้งสุดท้ายในที่ประชุมกรรมการ บริหารสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548

กล่าวโดยสรุปคือโคพันธุ์กำแพงแสนเป็นโคพันธุ์เป็นการปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อโคพื้นเมืองของไทย ที่มีคุณสมบัติที่ดีเลิศในเรื่องความสมบูรณ์ คือ เป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย ได้ลูกทุกปี ทั้งๆที่ได้รับอาหารไม่ค่อยสมบูรณ์นัก แต่เนื่องจากโคพื้นเมืองของไทยไม่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นโคขุนในระบบธุรกิจได้ เพราะมีขนาดลำตัวเล็กและโตช้า จึงได้มีการปรับปรุงโคพื้นเมือง โดยนำโคบราห์มันเข้ามาผสมเพื่อให้ได้ลูกโคที่มีขนาดใหญ่และโตเร็วขึ้น แต่มีการทราบกันดีอยู่แล้วว่าโคบราห์มัน มีข้อด้อยเรื่องความสมบูรณพันธุ์ การยกระดับโคบราห์มันให้สูงขึ้นจะมีปัญหาการผสมติดอยากมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับอาหารไม่สมบูรณ์โคจะไม่ยอมเป็นสัด นอกจากนี้คุณภาพของโคบราห์มันก็ด้อยกว่าโคเมืองหนาว การผสมโคกำแพงแสนจึงมีเลือดโคพื้นเมืองไว้ 25 เปอร์เซนต์เพื่อให้ได้โครงสร้างใหญ่ขึ้นแล้ว จึงมีการคิดนำเอาโคชาโรเลส์เข้ามาช่วยในเรื่องการให้เนื้อและการเจริญเติบโต โดยกำจัดเลือดของพันธุ์ชาโรเลส์ไว้เพียง 50 เปอร์เซนต์ โคพันธุ์กำแพงแสน มีเลือดผสมพื้นเมือง 25 เปอร์เซนต์ บราห์มัน 25 เปอร์เซนต ชาโลเลส์ 50 เปอร์เซนต์ ปรับปรุงขึ้นมาโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การเลี้ยงนกกระทา (Quail)


นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง คือ นกกระทาญี่ปุ่น (Japanese Quail ; Coturnix  japonica) ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงนกกระทา ก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาใน บ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยู่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย


ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา
1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
4. วิธีการเลี้ยงดูนกกระทา ง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี

พันธุ์นกกระทา
นกกระทาที่นิยมเลี้ยงคือ นกกระทาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Quail) หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Courunix japonica ซึ่งมีด้วยกัน 3 สี คือ สีลายดำประขาว สีทอง และสีขาว แต่นกกระทาทุกชนิดสีจะให้ไข่ที่มีสีเปลือกไข่เหมือนกัน คือ ลายประ

การเริ่มต้นเลี้ยงนกกระทา สามารถดำเนินการได้ 2 แบบ คือ
1. ซื้อลูกนกกระทา หรือนกกระทาใหญ่มาเลี้ยง
2. ซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง

วิธีการเลี้ยงนกกระทาและดำเนินการ
การจะบรรลุผลตามที่ต้องการหรือไม่นั้น ผู้เลี้ยงนกกระทาจะต้องรู้จักคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์นกกระทาที่ดี ที่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไปได้ ซึ่งลักษณะที่ควรพิจารณาคือ ลักษณะการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตไข่ เป็นต้น ในการเลี้ยงนกกระทาก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ที่จะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. โรงเรือนและอุปกรณ์ของนกกระทา
2. อาหารนกกระทา
3. การจัดการเลี้ยงดูนกกระทา
4. โรคและการป้องกันโรคของนกกระทา
5. การตลาดของนกกระทา


โรงเรือนและอุกรณ์ของนกกระทา

โรงเรือนนกกระทา  
โรงเรือนสำหรับ นกกระทา จะสร้างแบบเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ เช่น แบบ เพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่ว แต่ขอให้สะดวกต่อการปฏิบัติเลี้ยงดู และรักษาความสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกกระทาอยู่อย่างปลอดภัยจากศัตรูที่มารบกวน และเป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ภายในโรงเรือนหากจะเลี้ยงนกกระทาแบบกรงซ้อนกันหลายๆ ชั้น เพดานต้องสูงพอสมควร

พื้นโรงเรือนนกกระทา ควรเป็นพื้นคอนกรีต เพราะสะดวกในการล้างทำความสะอาด หากเป็น พื้นดินจะต้องอัดให้แน่น สำหรับฝาโรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายหรือลวดถักขนาด เล็ก หรือไม้ขัดแตะก็ได้ ที่สามารถกันหนู นก และสัตว์อื่นๆ ได้ และควรจะมี ผ้าม่านที่ใช้กั้นในเวลาที่ลมโกรก หรือกันฝนสาดเข้าไปในโรงเรือน
การระบายอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และผู้เลี้ยงนกกระทาควรจะเอาใจใส่ เป็นอย่างยิ่ง การระบายอากาศภายในโรงเรือนดีจะมีผลดีต่อสุขภาพการเจิรญเติบ โตและการให้ผลผลิตของนกกระทา เพราะการระบายอากาศเป็นการนำอากาศของเสียออก และดึงอากาศดีเข้าภายในโรงเรือน ซึ่งหากการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ภายในโรง เรือนอับชื้น กลิ่นแก๊สแอมโมเนียสะสม ซึ่งจะมีผลต่อเยื่อตาของผู้เลี้ยงและ นกกระทารวมไปถึงมีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ด้วย การระบายอากาศที่ดี ประมาณ 0.5 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อนกกระทา 100 ตัว ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศา เซลเซียส

อุปกรณ์ในการเลี้ยงนกกระทา
กรงสำหรับลูกนกนกกระทา ขนาดของกรงกกนกกระทาขึ้นกับขนาดของลูกนกนกกระทา โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 0.5 เมตร สำหรับกกลูกนกกระทาอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านกว้างของกรงควรจะทึบ ส่วนด้านยาวโปร่ง แต่ถ้าอากาศหนาวควรจะปิดทึบทั้ง 4 ด้าน พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1x1 ซ.ม. หรือลวดตาข่ายพลาสติก ตาเล็กๆ กรงกกนกกระทาอาจจะวางซ้อนกันหลายๆ กรงก็ได้ แต่ต้องทำประตูเปิด-ปิดไว้ในทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน และควรมีภาชนะรองรับขี้นกจากกรงบนๆ ไม่ให้ตกใส่กรงด้านล่าง เพื่อป้องกันโรคระบาดด้วย

ภายในกรงกกนกกระทาต้องใช้กระสอบ หรือถุงอาหารสัตว์ หรือผ้าหนาๆ ปูพื้นเพื่อป้องกันขาลูกนกนกกระทาติดช่องตาข่าย และลูกนกกระทาได้รับความอบอุ่นเต็มที่ พอกกนกกระทาไปได้ 3-5 วัน อาจนำกระสอบที่ปูพื้นออกได้ แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นอาจใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หญ้าแห้งสับ เป็นต้น ลูกนกกระทาที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกเป็ด ลูกไก่ จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น โดยใช้หลอดไฟฟ้า 1 หลอด สำหรับลูกนก 60-100 ตัว อุณหภูมิที่ใช้ในการกกนกกระทาในสัปดาห์แรก ประมาณ 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วค่อยๆ ลดลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ จนเท่ากับอากาศธรรมดา ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตการกระจายลูกนกกระทาภายใต้เครื่องกกด้วย จะใช้เวลาในการกกนาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะช้า หรือเร็วขึ้นกับอุณหภูมิปกติ และสุขภาพของลูกนกกระทาด้วย หลังจากลูกนกกระทาอายุ 3 สัปดาห์ จะย้ายไปเลี้ยงในกรงนกกระทารุ่น หรือกรงนกกระทาขังเดี่ยวก็ได้

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ให้น้ำ อาหาร จะต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวนลูกนกกระทาที่เลี้ยงอยู่ เพราะถ้าภาชนะให้น้ำ-อาหารไม่เพียงพอ ลูกนกกระทาจะเข้ามาแย่งกันกินน้ำ-อาหาร ทำให้เบียดและเหยียบกันตายได้ หรือลูกนกกระทาตัวที่เล็ก หรืออ่อนแอก็จะเข้าไปกินน้ำ-อาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย

กรงนกกระทาใหญ่
กรงนกกระทาใหญ่อาจจะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่า ให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใดหรือใช้แยกเลี้ยงนกกระทาที่แสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งกรงขังเดี่ยวอาจจะลักษณะเช่นเดียวกับกรงตับไข่ไก่ ซึ่งมีทั้งชนิดกรงตับชั้นเดียว หรือหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป เพราะจะทำให้การทำงานลำบาก คือ ให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่นกกระทากลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ด้านข้างเป็นตาข่ายขนาด 1x2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกกระทาลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา นอกจากจะเป็นกรงขังเดี่ยวแล้ว ผู้เลี้ยงนกกระทาอาจจะทำเป็นกรงตับเลี้ยงรวม 2 หรือ 3 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้

สำหรับกรงรวมฝูงใหญ่ จะมีข้อดีตรงที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุปกรณ์และสะดวกในการเลี้ยง แต่ก็มีข้อเสีย หากการจัดการไม่ดี นกกระทาจะได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หรือถ้าเลี้ยงแน่นเกินไปจะทำให้นกกระทาเครียด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและการให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังยากที่จะทราบว่านกกระทาตัวใดไข่ ตัวไหนไม่ไข่ กรงรวมฝูงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ใช้เลี้ยงนกกระทาได้ประมาณ 50-75 ตัว ส่วนความสูงของกรงนั้นควรให้สูงพอดับความสูงของนกกระทาที่จะยืนยืดตัวได้อย่าง สบาย ถ้าสูงมากเกินไปนกกระทามักจะบิน หรือกระโดดซึ่งจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นกกระทาได้รับบาดเจ็บอาจใช้มุ้งไนลอนตีปิดแทนไม้ หรือตาข่ายก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำขนาดต่างๆ ของกรงนกกระทาเลี้ยงรวมไว้ดังนี้

ภาชนะให้อาหารนกกระทา
ภาชนะใส่อาหารสำหรับลูกนกกระทา ควรใช้ถาดแบนๆ ที่มีขอบสูงไม่เกิน 1 ซ.ม. เพราะหากขอบสูงเกินไป ลูกนกกระทาจะกินอาหารไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นอาจใช้รางอาหารแบบไก่ และถ้าให้ดีควรเป็นรางอาหารที่มีขอบ ยื่นออกมาประมาณ 1/4 นิ้ว เพื่อกันอาหารถูกคุ้ยหกกระเด็นออกมา ซองจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่นอกกกรงก็ได้ หลังจากลูกนกกระทาอายุมากว่า 4 สัปดาห์ จะใช้อาหารขึ้นกับความยาวของกรงนกกระทา ในกรณีที่วางรางอาหารไว้นอกกรง แต่ถ้าวางรางอาหารไว้ภายในกรงให้ใช้ขนาด 40-50 ซ.ม. โดยวางไว้หลายๆ จุด เพื่อให้นกกระทากินได้ทั่วถึง นอกจากนี้อาจให้ภาชนะอื่นๆ ดัดแปลงมาเลี้ยงนกกระทาก็ได้

ภาชนะให้น้ำนกกระทา
สำหรับลูกนกกระทา ใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก โดยใส่ก้อนหินเล็กๆ เพื่อลดความลึกของน้ำ หรือทำที่กันไม่ให้ลูกนกกระทาตกน้ำหรือลงไปเล่นน้ำ เพราะจะทำให้ตายได้ โดยเฉพาะลูกนกกระทาอายุ 1 สัปดาห์แรก ผู้เลี้ยงอาจจจะดัดแปลงภาชนะอะไรก็ได้ ขอให้ปากภาชนะมีขนาดแคบและตื้น ให้เฉพาะหัวนกกระทาลงไปจิกกินน้ำได้เท่านั้น

ส่วนนกกระทาใหญ่ หรือลูกนกกระทาอายุเกิน 3 สัปดาห์แล้ว สามารถใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก หรือรางน้ำแบบแขวนก็ได้ โดยแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร นอกจากนี้อาจดัดแปลงภาชะนอื่นๆ ก็ได้ เช่น ถ้วย ขันขนาดเล็กๆ หรือที่ให้น้ำอัตโนมัติ (Nipple)

อุปกรณ์ อื่นๆ ของนกกระทา

1. สวิงจับนกกระทา เพื่อไม่ให้นกกระทาช้ำ เมื่อจะจับนกกระทาด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม เช่น ตัดปาก หรือทำวัคซีน หรือจำหน่าย เป็นต้น ควรใช้สวิงตักจะทำให้นกกระทาไม่ช้ำ สวิงทำด้วยเชือกไนล่อนถักเป็นตาข่าย เย็บติดกับลวดกลมที่แข็งแรงพอสมควร ดัดเป็นห่วงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และทำด้ามไม้ขนาดยาวพอที่จะล้วงเข้าไปจับนกกระทาในกรงได้

2. ที่เกี่ยวไข่นก นกกระทาที่เลี้ยงรวมในกรงรวมฝูงใหญ่ ถึงแม้ว่าพื้นกรงจะมีความลาดเอียง เพื่อให้ไข่ไหลออกมาได้ก็ตาม แต่ในบางครั้งไข่ก็ไม่กลิ้งไหลออกมานอกกรง จึงต้องใช้ที่เกี่ยวไข่ออกมา ที่เกี่ยวไข่นี้ทำง่ายๆ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวพอควร เหลาปลายด้านหนึ่งให้บางๆ แล้วโค้งเป็นห่วง ขนาดกว้าง 1 นิ้วครึ่ง - 2 นิ้ว ผูกติดกับปลายไม้ไว้

3. เครื่องตัดปากนกกระทา ลูกนกกระทาเมื่ออายุ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกกระทาใหญ่ควรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้นกกระทาจิกกัน การตัดปากนกกระทาอาจใช้หัวแร้งไฟฟ้า หรือหัวแร้งธรรมดาเผาไฟจี้ที่ปากนก หรือาจจะใช้มีดเผาไฟพอร้อนแล้วจี้ที่ปากนกกระทา หรือจะใช้ที่ตัดเล็บตัดปากนกกระทาก็ได้

4. เครื่องชั่ง สำหรับชั่งอาหารนกกระทา น้ำหนักไข่ น้ำหนักตัวนกกระทา เป็นต้น



การเริ่มเลี้ยงนกกระทา
1. โดยซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขายซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน
2. โดยซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมกันนัก มักจะซื้อตัวลูกนกกระทามาเลี้ยง

การเก็บรักษาไข่ฟักของนกกระทา
ไข่นกกระทาที่นำมาใช้ฟัก หมายถึงไข่ที่เก็บจากแม่นกกระทาที่ได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกกระทาแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนำพ่อนกกระทาออกมาจากการผสมพันธุ์แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ไข่นกกระทาที่จะนำมาฟักนั้น หากไม่ได้นำเข้ามาฟักทันทีในแต่ละวัน จำเป็นต้องรวบรวมไว้ก่อน ซี่งมีวิธีการเก็บรักษาไข่ให้เชื้อยังแข็งแรงดังนี้
1. เก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น และสะอาดไม่อับชื้น
2. เก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี
3. หากสามารถทำได้ ควรเก็บไข่นกกระทาไว้ในที่อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ 70%
4. ไม่ควรเก็บไข่ฟัก ไว้นานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้การฟักออกเป็น ตัวลดลง

เนื่องจากสีของเปลือกไข่นกกระทามีหลายสี มีจุดลายสีดำ สีน้ำตาล สีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากต่อการส่องไข่เพื่อดูจะดูว่าเป็นไข่มีเชื้อหรือไม่ หรือเชื่อตาย ดังนั้นหากต้องการล้างเอาสีของเปลือกไข่ออกเสียก่อน จะทำได้ดังนี้
1. จุ่มไข่ลงในน้ำยาสารควอเตอร์นารี แอมโมเนี้ย ที่มีอุณหภูมิ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์
2. ใช้ฝอยขัดหม้อขัดเบาๆให้สีของเปลือกไข่หลุดออกมา
3. ปล่อยไข่ไว้ให้เปลือกไข่แห้ง จึงเก็บรวมนำไปฟักต่อไป

วิธีฟักไข่นกกระทา
นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วันก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับ ด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึงค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้ หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกกระทาฟักออก

สำหรับการกลับไข่นกกระทา ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนกกระทา เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่นกกระทาเพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนกกระทา หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้วก็ได้

ปัจจยที่เกี่ยวข้องกับผลของการฟักไข่นกกระทา

 การทำให้ไข่นกกระทาฟักมีเชื้อ
1. ช่วงระยะเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม ตามปกติไข่นกกระทาอาจมีเชื้อได้ภาย ใน 24 ชั่วโมงหลังการผสมพันธุ์ หากผสมแบบธรรมชาติ หรือผสมแบบ ฝูง ราว 3- 5 วัน ให้เก็บไข่ไปพักได้ ถ้าเป็๋นฝูงใหญ่ ควรปล่อยตัวผู้ไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อย เก็บไข่ไปฟัก ทั้งนี้ในการผสมพันธุ์ถ้าเราเก็บไข่ ไปเข้าฟักเร็วเกินไปทำให้ได้ไข่ไม่มีเชื้อมาก

2. ฤดูกาล ฤดูฟักไข่นกกระทาในเมืองไทยควรเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูธรรมมาไปจนถึงเดือน มีนาคม ซึ่งโอกาสที่เชื้อแข็งแรงและผสมติดจะมีมากกว่าในฤดูร้อน เนื่องด้วยสัตว์ปีกมีอัณฑะอยู่ในร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดัง นั้นหากอากาศภายนอกสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ตัวอสุจิเสื่อมสมรรถภาพ และเป็น หมันชั่วคราว ฉะนั้นในฤดูร้อนจึงมักจะมีเชื้อต่ำกว่าฤดูธรรมดา

3. อาหารนกกระทา ในฤดูผสมพันธุ์นกกระทา ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพดี มีโภชนะ บริบูรณ์ แก่พ่อแม่พันธุ์นกกระทาอย่างพอเพียง การให้อาหารที่ขาดวิตามินอื่น เป็นเวลา นานๆ  หรือพ่อพันธุ์นกกระทากินอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลต่อ สุขภาพ ทำให้พ่อพันธุ์นกกระทานั้นให้เชื้อที่ไม่แข็งแรง พ่อ- แม่ที่ใช้ทำพันธุ์ควร ให้อาหารที่มีโปรตีนสูง กว่าระยะไข่ คือ มีโปรตีนประมาณ 24 %

  4. การผสมพันธุ์ นกกระทาพันธุกรรมมีผลต่อการมีเชื้อและการฟักออก การผสม เลือดชิดหลายๆชั่ว ( genneration ) จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ของไข่นกกระทาลดลง เพราะถ่ายทอดลักษณะที่อ่อนแอมาด้วย

อาหารนกกระทา
อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และประเภทของการให้ผลผลิต เช่น เพื่อเป็นนกกระทาเนื้อ หรือนกกระทาไข่ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยง นกกระทาในแต่ละช่วงอายุ จะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูกมีหลายสูตรให้เลือก ตามความเหมาะสม ตามฤดูกาล และวัตถุดิบ

อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทา อาจใช้
1. อาหารสำเร็จรูป
2.ใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบ
3.ใช้วัตุดิบผสมเอง

ปริมาณการให้อาหารนกกระทาของผู้เลี้ยงแต่ละรายจะแตกต่างกันไป สำหรับลูกนกกระทาอายุ 0-4 สัปดาห์ จะกินอาหารประมาณตัวละ 220 - 230 กรัม แต่เมื่อโตขึ้นในระยะให้ไข่จะกินอาหาร วันละ 20 -25 กรัม/ ตัว ให้อาหารวันละ 2- 3 ครั้ง โดยน้ำต้องมีให้นกกินตลอกเวลา

การเลี้ยงดูและการให้อาหารนกกระทา

การเลี้ยงดูลูกนกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 วัน
เมื่อลูกนกกระทาฟักออกจากไข่หมดแล้ว สังเกตุดูเมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงค่อยนำออกมาจากตู้เกิด นำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนกกระทา พื้นกรงควรปูรองด้วยกระสอบ ไม่ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถุงอาหารปูรองเพราะจะทำให้ลูกนกลื่นเกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตังลูกนกกระทาเมื่ออายุ 1 วันจะหนัก ประมาณ 6.75 - 7.0 กรัมนำลูกนกกระทามาเลี้ยงในกรงกก เพื่อให้ความอบอุ่นจะใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์แขวนไว้ในกรงกก ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. แต่ถ้าสังเกตุว่าลูกนกกระทาหนาวควรจะเปลี่ยนหลอดไฟเป็นขนาด 100 วัตต์ หากใช้ตะเกียงก็ตั้งไว้บนพื้นกรง ปกติแล้วจะกกลูกนกกระทาเพียงแค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ให้สังเกตุที่ตัวลูกนกกระทาและอุณหภูมิภายนอกด้วยการให้อาหาร จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนกกระทา หรือจะผสมอาหารเองก็ได้ โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24 -28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในที่ให้น้ำ และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ในระยะ 3 - 7 วันแรกควรละลายพวกปฎิชีวนะผสมน้ำให้ลูกนกกระทากิน จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกระทากินตลอดเวลา

เมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 1 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเอากระสอบที่ปูรองพื้นกรงแล้ว เอากระสอบใหม่ปูรอง หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงอาหารปูรองพื้นแทนก็ได้  เมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 10 วัน หรือ15 วัน ควรย้ายไปกรงนกกระทารุ่นเพื่อไม่ให้แน่นเกินไปหากอากาศไม่หนาวเย็น ควรกกให้ไฟเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นและเมื่อถึงอายุ 30 -35 วัน จึงย้ายเข้ากรงนกไข่ต่อไป ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 - 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์

การเลี้ยงนกกระทารุ่นตั้งแต่อายุ 15-35 วัน
การให้อาหารนกกระทา ใช้อาหารลูกนกกระทาตามเดิม แต่อย่าใส่อาหารจนเต็มราง ใส่เพียงครึ่งรางเท่านั้น และควรใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมวางวางบนรางอาหารเป็นการป้องกันมิให้นกกระทาคุ้ย เขี่ยอาหารหล่นออกมานอกราง  การให้น้ำ ปฎิบัติเช่นเดียวกับการให้น้ำลูกนกกระทา ผิดกันแต่เพียงว่าไม่ต้องใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงไปในจานน้ำอีกต่อไปแล้วเมื่อลูกนกกระทาอายุได้ 3 สัปดาห์ หรือจะรอจนกว่าลูกนกกระทาอายุได้ 1 เดือนก็ได้จะต้องทำการคัดเพศ แยกลูกนกกระทาตัวผู้และตัวเมียเลี้ยงพวกละกรง สำหรับตัวผู้หากประสงค์จะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงขุนขายเป็นนกกระทาเนี้อต่อไป ส่วนนกกระทาตัวเมียหลังจากคัดเลือกเฉพาะตัวที่มีลักษณะดีแล้วควรจะทำการตัดปากนกกระทา เสียก่อนที่จะนำไปเลี้ยงในกรงต่อไป โดยใส่นกกระทาจำนวน 50 - 75 ตัวต่อกรง ตามปกติแล้ว เมื่อลูกนกกระทาอายุ 2 เดือน จะมี น้ำหนัก 60 - 65 กรัม

การคัดเลือกนกกระทา
โดยทั่วๆไปแล้ว การคัดเพศนกกระทานั้น ใช้วิธีสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกกระทากล่าวคือ สีของนกกระทาตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแกมแดงเช่นกันซึ่งผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา นกกระทาตัวผู้ที่มีอายุ 30-40 วัน จะมีเสียงร้องขันด้วย ส่วนนกกระทาตัวเมีย ขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาวถ้าจะคัดเพศให้ได้ผลแน่นอน ให้ตรวจดูที่ช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวารหากสังเกตเห็นติ่งเล็กๆ นกกระทาตัวนั้นเป็นตัวผู้ ส่วนในตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไว้ชัดเจน

การเลี้ยงนกกระทาไข่ อายุ 35 วันขึ้นไป
เมื่อนกกระทาอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกกระทาจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัวให้นกกระทาได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้ หากนกกระทาได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกกระทาได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกกระทาจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60-150 วัน นกกระทาบางตัว ให้ไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกกระทาระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่ พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร
   
การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ
นกกระทาตัวผู้ที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ เมื่ออายุ 30 วัน แล้วนำมาเลี้ยง รวมกันในกรงนกรุ่น โดยใส่กรงละประมาณ 150 - 200 ตัว ให้อาหารไก่กระทงสำเร็จรูปก็ได้ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 -50 วัน ก็จับขายได้ นอกจากนี้นกกระทาตัวเมีย ที่ให้ไข่ไม่คุ้มทุนก็นำมาขุนขายได้

การผสมพันธุ์นกกระทา
นกกระทาตัวผู้และนกกระทาตัวเมีย ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องคัดเลือกตัวที่มีลักษณะดี เช่น ตัวผู้จะต้องเป็นนกกระทาที่มีความเจริญ เติบโตเร็ว แข็งแรงมีลักษณะสมกับเป็นพ่อพันธุ์ ส่วนตัวเมียก็ต้องเป็นนกกระทาที่มีการเจริญเติบโตเร็วแข็งแรง เช่นกัน และเมื่อเริ่มเป็นสาวจะพบว่า ส่วนท้องติดก้นมีลักษณะใหญ่ ทั้งนกกระทาตัวผู้และนกกระทาตัวเมียที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 50 -70 วันในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ผลดี ควรระวังอย่าให้มีการผสมเลือดชิดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกนกกระทาที่เกิดมาพิการ หรือเปอร์เซ็นการฟักออกเป็นตัวจะลดน้อยลงควรจะให้วิธีผสมเลือดห่างๆ หรือผสมข้ามพันธุ์ เพื่อจะได้รักษาพันธุ์ไว้ได้ต่อไป

อัตราส่วนของพ่อพันธุ์นกกระทา ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อจะได้ไข่ฟักที่มีเชื้อดี หรือหากจำเป็นไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ หนึ่งตัวต่อแม่พันธุ์เกิน 3 ตัวโดยทั่วไปแล้วเมื่อแม่พันธุ์นกกระทาได้รับการผสมพันธุ์ จากพ่อพันธุ์นกกระทาแล้ว ไข่จะเริ่มมีเชื้อเมื่อวันที่ สอง และจะมีเชื่อต่อไปถึง 6 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน หลังจากแยกตัวผู้ออกแล้ว แต่ถ้าจะให้แน่ใจควรจะเก็บไข่ฟักเมื่อแม่นกกระทาได้รับการผสมไปแล้ว 5 วัน และไม่เกิน 7 วัน หลังจากแยกพ่อพันธุ์ออกแล้วการมีเชื้อของไข่ มักจะเริ่มลดลง เมื่อ พ่อ- แม่พันธุ์ อายุมากกว่า 8 เดือน แม่พันธุ์นกกระทาอายุมากก็ยังมีไข่ฟักออกลดลง การให้พ่อพันธุ์นกกระทาอยู่ด้วยกันตลอดเวลา จะให้ไข่มีเชื้อสูงกว่า และถ้าเอาตัวผู้อยู่ร่วมกับตัวเมีย ก่อนเป็นหนุ่มสาว จะลดนิสัยจิกรังแกกัน
   

โรคและการป้องกันรักษานกกระทา
วิธีป้องกันรัษาโรคต่างๆ ก็คล้ายคลึงกับไก่และเป็ด ซึ่งต้องอาศัยหลักและวิธีการปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามา และต้องมีการรักษาสุขภาพอนามัยตลอดการ วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการป้องกันเชื้อโรค สำหรับนกกระทาที่มาจากภายนอกฟาร์มควรกักไว้ต่างหากสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้ามา รวมกับนกกระทาในฝูง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นการนำโรคจากภายนอกเข้ามาในฝูง

1.ความแข็งแรงและสุขภาพของนกกระทา
ลูกนกกระทาเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายกว่านกกระทาใหญ่ ตามธรรมดาลูกนกกระทาเหล่านี้จะฟักและเลี้ยงรวมกันมากตัว ฉะนั้นจึงมีโอกาสจะแพร่เชื่อติดต่อโรคต่างๆได้ง่ายหลักการรักษาความปลอดภัยในเรื่องโรค ควรมีดังนี้
1. ควรซื้อไข่หรือนกกระทาจากฟาร์มที่แยกอยู่เดี่ยวโดด และห่างจากฟาร์มสัตว์ปีกต่าง
2. ควรจะหาซื้อนกกระทาจากแหล่งที่แน่ใจว่าปลอดโรคติดต่อต่างๆ โดยมีบันทึกหรือหนังสือรับรองการให้วัคซีนต่างๆ และการใช้ยาป้องกันโรคต่างๆในระหว่างการเลี้ยงดูนกกระทานั้นๆ
3. ควรหาซื้อนกกระทาจากฝูงที่มไมีโรคติดต่อ หรือพญาธิต่างๆ
4. ต้องมีการดำเนินการทำวัคซีนตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันโรค
5. ไม่ควรใช้ไข่ฟักจากฝูงที่กำลังป่วย
6. ควรซื้อหาเฉพาะไข่ฟักหรือลูกนกกระทาจากฝูงที่ได้ตรวจและปอดโรคขี้ขาว
7. ควรตรวจตราฝูงนกกระทาและตู้ไข่บ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันโรคระบาด

2.โรคของนกกระทา
โรคที่เกิดกับนกกระทาคล้ายคลึงกับในไก่ แต่นกกระทามีความต้านทานต่อโรคมากกว่าไก่ และถ้าดูแลดีจะไม่ปรากฎว่าล้มตายมากเลยมีโรคหลายโรคที่แพร่ติดต่อมาจากแม่นกกระทา ถึงไข่ ทำให้ตัวอ่อนในไข่ได้รับภัยจากเชื้อโรคในระหว่างการฟักไข่ อาทิ เช่น จำพวกซัลโมเนลล่า เชื้อพวกมัยโคพลาสมา ไวรัสของโรคไข้สมองอักเสบ พวก lymphoid leukosis เชื้อโรคหลอดลมอักเสบ เชื้อโรคนิวคาสเซิล สำหรับโรคที่เกิดกับนกกระทาทั้งที่ติดต่อและไม่ติดต่อเท่าที่พบแล้วในบ้าน เราได้แก่ โรคนิวคลาสเซิล ฝีดาษ หวัดมีเชื้อ บิดมีเลือด มาเร็กซ์ เป็นต้น นอกจากนี้พยาธิต่างๆ ที่พบในไก่ก็อาจพบในนกกระทาได้ในปัจจุบัน มักพบการระบาดของโรคนวคลาสเซิลในนกกระทา แต่การตายจะไม่รุนแรง เหมือนในไก่

3. การป้องกันโรคของนกกระทา

เช่นเดียวกับในไก่ การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาวิธีป้องกันโรคต่างๆ ของนกกระทานี้ก็เหมือนกับของสัตว์ปีกอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการและวิธีปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ใช้เชื้อโรคแพร่เข้ามา และการรักษาสุขภาพ อนามัยตลอดเวลา วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการสกัดการแพร่ของเชื้อโรค ด้วยเหตุนี้การมีฝูงนกกระทาที่ไม่มีโรคติดต่อ จึงมีความ สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ควรลืมว่าทางแพร่ของโรคมีได้หลายางทั้งอาจเห็นได้และที่แอบแฝงมา ปัจจุบันมีวิธีตรวจหาโรคติดต่อที่สำคัญๆ เพื่อหาทางการตรวจตราไข่ และลูกนกกระทาควรกักนกกระทาที่ส่งมาจากภายนอก โดยขังแยกต่างหากจากนกกระทาและสัตว์อื่นไว้สัก 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะเอาเข้ามารมกับนกกระทาในฝูง ให้อาหารและเลี้ยงดูเช่นเดียวกับนกกระทาที่เลี้ยงไว้ต่อไป ควรหมั่นสังเกตตัวนกกระทา ตรวจดูอาการของโรคทุกวัน เมื่อพบอาการของโรคก็ควรจะรีบนำไปวินิจฉัยให้รู้แน่นอน นกกระทาที่เหลือหากมีอาการไม่ดีควรทำลาย กรงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับนกกระทาใหญ่ควรทำความสะอาด และฉีดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

4. การป้องกันศัตรูพวกนกหนูและแมลงต่างๆ
ศัตรูพวกนี้อาจเป็นสื่อนำโรคต่างๆ อย่างน้อยก็มาแย่งอาหารนกกระทา และเพิ่มความสกปรกให้แก่บริเวณที่มันเข้าถึง แมลงสาบ แมลงต่างๆ หนูที่หลุดเข้าไปหรือที่มีในธรรมชาติ นกกระทาที่มีอยู่ในธรรมชาติ และศัตรูต่างๆ จำพวกนี้เป็นภัย ต่อการดำเนินการและความปกติสุขของนกกระทา การป้องกันควรเริ่ม ตั้งแต่ก่อนย้ายเข้าอาคาร หรือ โรงเรือนใหม่ โดยการสำรวจอุดรูโหว่ต่างๆ ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด ใช้กับดัก รวมทั้งกวดขันการรักษาความสะอาดในการขจัดสิ่งรกรุงรังต่างๆ ทั้งนี้การใช้ยา ปราบศัตรูเหล่านี้ ควรให้อยุ่ในความควบคุมของผู้ที่รู้หรือเข้าใจใช้

สรุปการเลี้ยงนกกระทา
การเลี้ยงนกกระทา   เลี้ยงง่าย ให้ไข่เร็ว  ให้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อยสมาชิกในครอบครัวช่วยกันดูแลได้  ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ  42  วัน  ก็สามารถเก็บไข่ไปขายได้  อีกทั้งยังมีโรงงานมารับซื้อไข่นกกระทา  เพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารในรูปแบบต่าง ๆ

การเลี้ยงนกกระทา
โรงเรือน  นิยมสร้างแบบหน้าจั่วหรือเพิงหมาแหงน  อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีตเพื่อสะดวกในการทำความสะอาด  ถ้าเป็นพื้นดินต้องอัดให้แน่น

การฟักไข่นกกระทา  คือ  ไข่ที่จะทำการฟักต้องได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกและแม่นกมาประมาณ  1  สัปดาห์  มาฟักในตู้ฟักไข่ไฟฟ้า ควรทำความสะอาดตู้ฟักก่อนแล้วทำการรมฆ่าเชื้อโรค

การวางไข่นกกระทาในตู้ฟัก  จะต้องนำด้านป้านของฟองไข่ไว้ด้านบนเสมอ  ตู้ฟักไฟฟ้าควรใช้อุณหภูมิ  99.5  องศาฟาเรนไฮท์  และกลับไข่ประมาณวันละ  3  ครั้ง  ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่  14  จึงหยุดกลับไข่  เพื่อที่ไข่จะเตรียมฟักออกมาเป็นตัว
                       
เมื่อลูกนกกระทาออกจากไข่หมดแล้ว  ให้สังเกตุดู  เมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงนำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนกกระทา  ประมาณ  250-300  ตัว  กรงจะปิดทึบทั้ง  4 ด้าน  เพราะต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนกกระทา  โดยใช้หลอดไฟ  60  วัตต์  ระยะเวลากกไม่เกิน  2  สัปดาห์

ใช้อาหารลูกไก่กระทงสำเร็จรูป  หรือจะผสมเองตามสูตร  ใส่ถาด  และให้น้ำสะอาดผสมยาปฏิชีวนะ  ใส่ก้อนกรวดลงในจานป้องกันลูกนกลื่นตกน้ำเมื่อลูกนกอายุ  15  วัน  แข็งแรงพอที่จะเหยียบตาข่ายได้  ให้หยุดการกก เพียงแต่ให้แสงตอนกลางคืน  แล้วจึงย้ายลูกนกกระทาไปเลี้ยงในกรงรวม

เมื่อลูกนกกระทาอายุได้  3  สัปดาห์  หรือรอจนกว่าอายุ  1  เดือน  จะทำการคัดเพศ โดยสังเกตุจากลักษณะภายนอกของนกกระทา ตัวผู้มีสีน้ำตาลแกมแดงที่คอและอก  รวมทั้งสีขนด้วย ตัวเมียขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรือมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาว  หรือดูที่ทวาร ปลิ้นช่องทวารดู  ตัวผู้จะเห็นติ่งเล็ก ๆ ตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไข่

แยกเลี้ยงลูกนกกระทาตัวผู้กับตัวเมียพวกละกรง  คัดพ่อพันธุ์และตัวเมีย  คัดที่มีลักษณะดี ทำการตัดปากเพื่อไม่ให้นกกระทาจิกกัน  แล้วแยกไปเลี้ยงในกรงนกกระทาใหญ่ต่อไป เมื่อลูกนกกระทาอายุ  35  วัน  ให้อาหารที่มีโปรตีน  24 %  ใช้รางน้ำแขวนเช่นเดียวกับรางอาหาร  ซึ่งแขวนอยู่นอกกรง  รางอาหารควรกว้าง  10 ซม.  ลึก 5 ซม.
         
นกกระทาจะให้ไข่ดกระหว่าง  60-150  วัน  นกกระทาบางตัวไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี  ที่สำคัญระวังอย่าให้ลมโกรกมากเกินไป  ควรให้แสงสว่างในตอนกลางคืน  สำหรับนกกระทาตัวผู้ที่คัดออกเพื่อเป็นนกเนื้อ  สามารถเลี้ยงรวมกับนกรุ่น  โดยใส่กรงเลี้ยงไว้ประมาณ  40  วัน  ก็จับขายได้
       
การจัดจำหน่ายนกกระทา
จะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อส่งขายโรงงานหรือตลาดอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก  เพียง 42 วัน ก็เก็บไข่ขายได้ หรือเลี้ยงเป็นตัวลูกนกกระทา เพียง 18 วันสามารถจับลูกนกกระทาขายได้  (ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรฟักลูกนกกระทาเองเพื่อลดต้นทุน) ถ้าเป็นนกกระทาเนื้อ เลี้ยงไว้ประมาณ  40  วัน  ก็จับขายได้

เคล็ดลับ
เอาใจใส่นกกระทา  ตั้งแต่เริ่มทำการฟักไข่จนกระทั่งถึงการเก็บไข่  ควรให้นกกระทาอยู่ที่ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม  อากาศถ่ายเทได้ดีจะทำให้นกกระทาออกไข่ได้สม่ำเสมอ


การเลี้ยงกระบือ หรือควาย Buffalo


กระบือหรือควาย นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อระดับเกษตรกรรายย่อย ในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรที่มีการเพาะ ปลูกเป็นรายได้หลัก นานมาแล้วที่กระบือถูกใช้เป็นแหล่งแรงงานในการเกษตร การใช้มูลเป็นปุ๋ยและเมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ด้วย ในขณะเดียวกันสามารถใช้ผลพลอยได้ในไร่นาซึ่งมีราคาถูกมาใช้เป็นอาหารกระบือ เลี้ยงเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูงได้ จะสังเกตได้ว่ากระบือพื้นเมืองและ.โคที่เลี้ยงด้วยอาหารแบบเดียวกันและอยู่ ในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้น โคจะมีร่างกายผอมในขณะที่กระบือยังคงสภาพเดิม ซึ่งอาจเนื่องจากความแตกต่างทางด้านสัณฐานวิทยาสรีระวิทยา และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้กระบือมีความแตกต่างจากโคและเอื้อ ประโยชน์ในการนำเอาสารอาหารไปเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค อย่างไรก็ตามจากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเลี้ยงกระบือ ของเกษตรได้ถูกละเลยจากภาครัฐ และแม้กระทั่งเกษตรกรเองก็นิยมและหันไปเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างประเทศ การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรยังเป็นไปแบบพื้นบ้านไม่มีระบบการผลิตในเชิงธรุกิจ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการมองข้ามความสำคัญดังกล่าวซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเองด้วย  

ในสมัยก่อนประเทศไทยมีการเลี้ยงกระบือกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะใน ภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อใช้งานและเพื่อนำเนื้อมาบริโภค แต่หลัง จากมีเครื่องจักรเครื่องกลเข้ามาแทนที่ จำนวนกระบือในประเทศไทยก็ลดลงไปมาก บางจังหวัดแทบจะไม่มีกระบือให้เห็นเลย ปัจจุบันนี้น้ำมันมีราคาแพงมาก จึงทำให้เกษตรกรบางรายหันกลับไปใช้กระบือเป็นแรงงานในไร่นาแทนเครื่องจักร มากขึ้น บางหมู่บ้านโดยเฉพาะในภาคอีสานหันกลับมาใช้กระบือเป็นแรงงานในการทำนา ผลพลอยได้ก็คือ ได้เนื้อกระบือมาบริโภค การจัดการเลี้ยงดูกระบือไม่ยุ่ง ยากเหมือนโค เนื่องจากกระบือเลี้ยงง่าย ทนโรค กินอาหารได้เกือบทุกชนิด การเลี้ยงกระบือจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรควรให้ความสนใจ


ปัญหาการเลี้ยง กระบือ หรือควายของเกษตรกร     
เกษตรกรไม่สนใจแม่กระบือที่เลี้ยงว่าจะ ได้รับผสมพันธุ์หรือไม่เนื่องจากเกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละไม่กี่แม่ การเลี้ยงพ่อกระบือไว้เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฝูงของตนเองมีภาระค่อนข้างมากจึง ไม่เลี้ยงไว้แต่จะปล่อยกระบือไปเลี้ยงรวมกันอยู่ตามทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว หรือที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ เมื่อกระบือเป็นสัดก็จะผสมกระบือที่เลี้ยงปล่อยอยู่ในฝูง ซึ่งกระบือเพศผู้ดังกล่าวมักจะมีขนาดเล็กและแพร่กระจายลักษณะที่ไม่ต้องการ กระจายไปในฝูงผสมพันธุ์ การที่กระบือมีขนาดและน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ลดลง อัตราการตกลูกต่ำเนื่องจากปัญหาการผสมพันธุ์และการไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ของเกษตรกรเองมาเป็นเวลานาน เช่นการปล่อยให้กระบือพ่อลูกผสมกันเองจนทำให้เกิดเลือดชิดหรือการตอนกระบือ เพศผู้ตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการด ูและการขายได้ราคาโดยไม่มีการคัดเลือกกระบือตัวใหญ่หรือโตเร็วเก็บไว้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้ผลผลิตกระบือไม่เพียงพอต่อการบริโภค

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการลดจำนวนลง อย่างรวดเร็วของประชากรกระบือในประเทศ ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 2.3 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,2540) โดยมีอัตราการลดจำนวนลดจำนวนลงของกระบือร้อยละ 2.94 ต่อปี (ศักดิ์สงวน, 2540) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากระบือถูกนำไปฆ่าเพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต การฆ่ากระบือเพื่อบริโภคเนื้ออย่างผิดกฎหมาย มีการนำกระบือเพศเมียและกระบือท้องส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละซาก จะเห็นได้ว่าจำนวนกระบือที่ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างถูกกฎหมาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงโดยการนำเอารถไถนาขนาดเล็กมาใช้งานแทน การขาดแคลนแรงงานเลี้ยงกระบือหรือไม่มีที่ดินที่จะเลี้ยงกระบือ นอกจากนี้ปัญหาลูกกระบือในฝูงของเกษตรกรมีอัตราการตายก่อนหย่านมสูงมาก ประมาณ 20-30 % ตายจากโรคพยาธิภายใน เกษตรกรไม่สนใจในด้านสุขภาพของกระบือ เช่นไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนของการพัฒนาด้วนวิชาการการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กระบือซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการซึ่งได้มีการดำเนินการมา มากและเป็นเวลานานพอสมควร แต่การนำผลงานไปถ่ายทอดและพัฒนาการเลี้ยงกระบือให้แก่เกษตรกรก็ยังไม่มีรูป แบบที่แน่นอน ถูกต้องและชัดเจน เกษตรกรรายย่อยจะขาดแคลนกระบือที่จะใช้แรงงาน ในการทำไร่นา และผลิตลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ไม่มีการลุงทุน การเลี้ยงกระบือที่ให้ผลผลิตต่ำไม่สามารถจะมองเห็นผลร้ายแรงในเวลาอันใกล้ ได้ แต่ผลเสียหายจะเกิดขึ้นที่ละน้อยไม่รู้ตัว และเมื่อมีผลผลิตต่ำก็เลิกเลี้ยงไปเลย

ในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ ที่ภาครัฐดำเนินการ ค่อนข้างจะได้รับความสนใจจากเกษตรกรน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรไม่เห็นคุณค่าของกระบืออย่างชัดเจนจึงไมให้ความ สำคัญแก่กระบือเท่าที่ควร มีการใช้ประโยชน์ในส่วนของการใช้แรงงานกระบืออยู่บ้างแต่ก็น้อยลงอย่างเห็น ได้ชัดเกษตรกรส่วนใหญ่กลับเปลี่ยนไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรแทน กระบือของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงถูกปล่อยปละละเลยในด้านการเลี้ยงดู ปล่อยให้หากินเอง ตามทุ่งหญ้าสาธารณะ หรือเดินกินหญ้าตามธรรมชาติข้างทาง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้งานทางด้านส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกระบือของภาครัฐจึง ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ หรือควาย    
กระบือสามารถเลี้ยงในที่ลุ่มได้ เนื่องจากกระบือมีระบบย่อยอาหารที่ยาวกว่าโคและมีจุรินทรีย์ชนิดที่โคไม่มี ดังนั้นกระบือจึงสามารถใช้ประโยชน์อาหารหยาบที่คุณภาพต่ำซึ่งอยู่ในที่ลุ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค แต่กระบือเป็นสัตว์ไม่ทนร้อนจึงชอบนอนปลักทำให้แปลงหญ้าเกิดความเสียหาย การเลี้ยงกระบือในรูปฟาร์มจึงเป็นไปได้ยาก

กระบือ หรือควายจะใช้ประโยชน์จากหญ้าธรรมชาติ หญ้าที่เป็นวัชพืชฟางข้าวและสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกระบือโตเร็วและมีไขมันน้อย กระบือจะมีน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์เมื่ออายุเท่ากันแต่กระบือจะเลี้ยงง่ายและต้นทุนต่ำกว่าและให้เนื้อมากกว่า และเนื้อกระบือมีไขมันต่ำจึงเหมาะในการบริโภคมากกว่าโค แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกระบือ ขุนแบบโคขุนจะต้องลงทุนสูงและผลที่ได้จะไม่คุ้มทางเศรษฐกิจ
   
กระบือหรือควายสามารถใช้แรงงานในไร่นาและลากเกวียนได้ดีกว่าโคโดยทั่วไป กระบือไถนาได้วันละ 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนี่งไร่การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้ รถไถนาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังจะได้ปุ๋ยจากมูลใส่ไร่นาอีกด้วย ประมาณได้ว่ากระบือหนึ่งตัวให้มูลเป็นปุ๋ยได้ถึงปีละหนึ่งถึงสองตัน ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลงได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคาหากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จาก การขายมูลกระบือได้อีกด้วย 

พันธุ์กระบือ หรือควาย 
กระบือในโลกนี้สามารถแยกได้เป็นสองกลุ่มคือกระบือป่า และกระบือบ้านสำหรับกระบือบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือกระบือปลัก (swamp bufffalo) กระบือแม่น้ำ (river buffalo) กระบือทั้งสองชนิดจะอยู่ใน Family และ Genus เดียวกันคือ bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง และผลผลิตต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่ากระบือปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนกระบือแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้

กระบือ หรือควายปลัก
กระบือปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม กระบือชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของกระบือปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว กระบือชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด
   
กระบือ หรือควายแม่น้ำ
กระบือชนิดนี้พบในประเทศ อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก เป็นกระบือที่ให้นมมากและมีลักษณะเป็นกระบือนมเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม กระบือประเภทนี้จะไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด กระบือแม่น้ำจะมีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ พันธุ์นิลิ ราวี พันธุ์เมซานี พันธุ์เซอติ และพันธุ์เมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่กว่ากระบือปลัก


การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

1. การคัดเลือกกระบือเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้
1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์
1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด

2. การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควาย

โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง (ประสบ บูรณมานัส, 2520)

3. การดูแลแม่กระบือ หรือ ควายท้องถึงคลอดลูก
เมื่อกระบือแม่พันธุ์ตั้งท้องแล้ว การจัดการเลี้ยงดูให้ดีขึ้นเนื่องจากขณะนี้แม่พันธุ์ต้องกินอาหารเพื่อ เลี้ยงสองชีวิต อาหารโปรตีน แร่ธาตุ ต้องเพียงพอให้กระบือกินหญ้าสดเต็มที่ อาจเสริมอาหารข้นบ้างวันละ 1 – 2 กิโลกรัม มีก้อนแร่ธาตุให้กระบือได้เลียกินเพื่อเสริมแร่ธาตุ กระบือจะตั้งท้องนาน 10 เดือน หรือ 316 วัน การจัดการแม่กระบือท้องถึงคลอดลูกปฏิบัติได้ดังนี้
3.1 การจัดการดูแลแม่กระบือท้อง ทำได้ดังนี้
-ให้กระบือทำงานบ้างเพื่อเป็นการออกกำลังกายจะทำให้กระบือคลอดลูกง่าย แต่อย่าให้ทำงานหนักเกินไป
-อย่าให้ท้องผูกจะคลอดลูกยาก
-อย่าให้เดินไกล ๆ หรือวิ่งเร็ว ๆ
-อย่านำเข้าไปรวมกับกระบือแท้งลูก
-เมื่อแม่กระบือท้องแก่ใกล้คลอดต้องแยกไปขังไว้ต่างหาก

3.2 อาการของแม่กระบือ หรือ ควายที่จะคลอดลูก จะมีอาการดังนี้
-สองถึงสามวันก่อนคลอด เต้านมจะเต็มและขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลเวลาบีบ
- แนวท้องหย่อน
- อวัยวะเพศบวม
-อาการทุรนทุราย แสดงอาการปวดท้อง โดยทั่วไปแม่กระบือจะคลอดลูกเองในลักษณะยืนคลอด ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
-รกต้องออกภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด

3.3 เมื่อแม่กระบือ หรือ ควายคลอดลูกแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
-เช็ดทำความสะอาดตัวลูกกระบือ
-ตัดสายสะดือลูกกระบือ
-รกภายในตัวแม่ต้องออกภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าไม่ออกอาจจะต้องฉีดยาขับรก
-ถ้าลูกแสดงอาการแน่นิ่ง ให้ช่วยโดยดึงลิ้นออกจากปากแล้วจับขายกให้หัวห้อยลง
-เมื่อลูกกระบือหายใจได้แล้วควรช่วยให้ลูกกระบือกินนมแม่ที่เป็นนมน้ำเหลืองโดยเร็ว
-แม่กระบือเมื่อคลอดแล้วให้กินหญ้าอ่อน ๆ และพักผ่อน
-หากนมคัด ผู้เลี้ยงต้องรีดนมออกบ้าง
-แม่กระบือที่ให้นมลูกอาจจะขาดธาตุแคลเซียม จะมีอาการนอนหงายหน้าเอาหัวทับส่วนหลังลักษณะนี้เรียกว่า ไข้นม ต้องแก้ไขโดยฉีดแคลเซียมกลูโคเนตให้กับแม่กระบือ

4. การเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านม
เมื่อลูกกระบือคลอดแล้วจะปล่อยให้อยู่กับแม่และในระยะนี้เป็นระยะที่อันตราย มากที่สุด จะต้องดูแลลูกกระบือเป็นอย่างดี และจะต้องให้ลูกกินนมน้ำเหลืองจากแม่ในระยะ 3 วันแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรให้ลูกกินนมแม่จนอายุถึง 3 – 4 สัปดาห์ ก็หานมเทียมมาให้ลูกกระบือกินได้ หากแม่กระบือมีนมไม่พอ

การจัดการเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านมปฏิบัติได้ดังนี้
4.1 กระเพาะลูกกระบือจะสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งลูกกระบือสามารถกินหญ้าได้บ้างแล้ว แต่การให้ลูกกระบือกินนมแม่ต่อไปจนถึงอายุ 6 เดือน โดยปกติลูกกระบือจะหย่านมได้เองเมื่ออายุ 7 – 8 เดือน
4.2 นำเครื่องหมายประจำตัวลูกกระบือ ทำได้หลายวิธี เช่น
-ใช้โซ่ห้อยคอแขวนป้ายพลาสติก
-การสักเบอร์หู
-การตีตราที่เขา และสะโพก
4.3 จดบันทึกพันธุ์ประวัติ
4.4 ตอนกระบือตัวผู้ที่ไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์

5. การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือควายหลังหย่านมถึงหนุ่มสาวเมื่อลูกกระบืออายุ 6 เดือนไปแล้ว ก็จะเริ่มหย่านม การจัดการช่วงนี้ง่ายขึ้นโดยให้กระบือลงแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า และอาจเสริมด้วยอาหารข้นบ้างบางครั้ง ลูกกระบือที่ไม่ได้ตอนควรแยกออกจากฝูง ส่วนลูกกระบือเพศเมียและเพศผู้ที่ตอนแล้วจะปล่อยเลี้ยงรวมกันในแปลงหญ้า การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควายหลังหย่านมทำได้ดังนี้
5.1 ให้อาหารข้น 1 - 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน อาหารผสมควรมีโปรตีน 16 – 18 เปอร์เซ็นต์
5.2 ให้กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
5.3 มีก้อนแร่ธาตุแขวนไว้ให้กระบือเลียกิน
5.4 มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
5.5 เมื่ออายุ 18 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม



การสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ปลาคาร์พ Breeding Fancy Carp


การสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ปลาคาร์พ ชาวญี่ปุ่นเรียกปลาคาร์พกันว่า โต่ย (Koi)
อวัยวะสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ปลาคาร์พ Koi อยู่ในร่างกาย มันจึงยากที่จะบ่งเพศของปลาจนกว่ามันจะโตเต็มที่ ขณะที่ลำตัวยาวประมาณ 12 นิ้ว และมีอายุ 3 ปี เป็นช่วงที่ปลาโตเต็มที่ ตัวผู้จะมีร่างเพรียวกว่าตัวเมีย ครีบอกจะตั้งและยื่นออกจากลำตัวมากกว่าตัวเมีย ในฤดูผสมพันธุ์ ครีบของตัวผู้จะตั้งและหัวก็จะมีแต้ม ส่วนตัวเมียที่โตเต็มที่ ลำตัวจะหนาและกลมกว่า และจำกลมยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อมีไข่ในตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์

ปลาคาร์พ Koi เป็นปลาวางไข่ ตัวเมียจะวางไข่ที่พืชและเสปิร์มก็จะมาผสมพันธุ์กันข้างนอก ไข่ของปลาคาร์พ Koi เล็กกว่าหัวเข็มหมุด ใส เหนียวติดพืช ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 400,000 ฟอง ในช่วงผสมพันธุ์

ปลาคาร์พ Koi มักจะวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ในอุณหภูมิพอเหมาะแต่มันจะเริ่มวางไข่ตลอดทั้งปีในบริเวณเขตร้อนของอินโด-มาเลเซียและไทย ปลาคาร์พจะวางไข่ในน้ำอุณหภูมิต่ำที่ประมาณ 63 องศาฟาร์เรนไฮด์ แต่อุณหภูมิที่ดีควรจะอยู่ที่ประมาณ 68 องศาฟาร์เรนไฮด์ การผสมพันธุ์จะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำในแต่ละฤดูการขึ้นของพืชใต้น้ำ น้ำที่มีออกซิเจนเยอะและการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนของทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้จะไล่ตามจนกว่าตัวเมียจะวางไข่บนใบพืชที่อยู่ในน้ำตื้น หลังจากนั้น ตัวผู้จะผสมพันธุ์ โดยปล่อยสเปริ์มเข้าไปในไข่ตัวเมียจะวางไข่ในช่วงเช้าและไข่จะฟักภายใน 1 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 65-75 องศาฟาร์เนรไฮด์ เปอร์เซ็นต์ที่ลูกปลาคาร์พจะมีชีวิตรอดมีจำนวนไม่มาก เมื่อตัวผู้พบตัวเมีย ตัวผู้มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับตัวเมีย ตัวผู้จะไล่ตามอย่างดุเดือดจนกว่าตัวเมียจะวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะผสมพันธุ์โดยปล่อยสเปริ์มเข้าไปในไข่


การผสมพันธู์ปลาคาร์พในบ่อ
ถ้าบ่อและปลาคาร์พมีสุขภาพดี ปลาคาร์พจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออุณหภูมิน้ำเหมาะสม ในช่วงเปลี่ยนฤดู ซึ่งมักจะเป็นเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ถ้าเลี้ยงปลาคาร์พ Koi แค่เป็นงานอดิเรก ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะใช้บ่อเป็นที่วางไข่และที่ฟักตัวของลูกปลาคาร์พ หรือว่าจะหาสถานที่ที่สามารถจะควบคุมดูแลมากกว่านั้น เช่น ถังเพาะพันธุ์ ถ้าปล่อยให้ปลาผสมกันเองตามธรรมชาติในบ่อ จะไม่สามารถควบคุมสายพันธุ์ ถ้าไม่แบ่งพื้นที่ในบ่อสำหรับการผสมพันธุ์ เพราะไม่มีทางรู้ว่าลูกปลาตัวไหนเป็นของพ่อ-แม่ปลาคู่ไหน ถ้าในบ่อมีปลาคาร์พ koi หลายชนิด ไข่ที่วางไว้อาจจะโดนปนปลาคาร์พของตัวอื่นได้


บ่อผสมพันธุ์ปลาคาร์พ Koi
ปลาคาร์พ Koi จะวางไข่ได้อย่างเป็นธรรมชาติในบ่อ แต่ผู้เลี้ยงควรจะเตรียมบ่อผสมพันธุ์ไว้ด้วย ถังที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วอย่างดี ควรปล่อยให้พ่อ-แม่ และลูกปลาคาร์พ Koi อยู่ตามลำพัง เพื่อที่จะสามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด และยังสามารถเพิ่มการรอดชีวิตของลูกปลาด้วยบ่อเพาะปลาคาร์พ Koi ควรจะมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศุนย์กลางอย่างต่ำ 6-8 ฟุตและลึก 3-4 ฟุต ควรจะแข็งแรง และมีพื้นผิวบ่อเรียบ เพราะปลามักถูตัวกับผนังบ่อ ต้องแน่ใจว่ามีการให้ออกซิเจนในบ่ออย่างเพียงพอและอาจต้องเพิ่มอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ ให้ตัวเมียใช้วางไข่ วัสดุเหนียวนุ่มมัดผ้า ผักตบชวา หรือกิ่งต้นหลิว เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสม หรืออาจจะซื้ออุปกรณ์ผสมพันธุ์จำลองก็ได้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ซื้อมาปราศจากปรสิตและสารเคมี.



การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ Fancy Carp - Breeding Carp


ประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการ ศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ฟลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่น ปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์พจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่ สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ฟสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่


การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การที่จะเพาะปลาคาร์ฟจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้


1. คุณภาพ ของปลาที่จะเป็นพ่อแม่ รูปทรงและสีสันของปลาที่ดีจะต้องได้มาจากสายพันธุ์ พันธุกรรมของพ่อแม่ที่ดี หรือเรียกว่า สายพันธุ์นิ่ง คือพ่อแม่พันธุ์หน้าตาเป็นอย่างไร ลูกที่ออกมามักจะได้แบบนั้นเป็นส่วนใหญ่ ปลาที่มีสายพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ดูง่ายๆคือ เวลาออกลูกมาแล้วมีหน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่พันธุ์เลย เมื่อจะเพาะพันธุ์ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp)  ก็คงต้องการให้ปลาที่เกิดมามีสีสดใสสุขภาพดีและรอดต้องเริ่มด้วยการเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม โดยดูจากปลาที่มีสุขภาพแข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว สีสวยและครีบมีลักษณะดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่าต้องไม่นำปลา koi  ชนิดหลักๆมารวมกันและควรจะเลือกปลาที่มีสีพื้นสีขาว สีสด และลำตัวตรง คนเลี้ยงปลาที่มีชื่อเสียงบางคน จับคู่ปลาตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัวมาผสมพันธุ์กัน แต่มันยากที่จะเลือกปลาที่มีคุณสมบัติดีพร้อม สำหรับที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ดังนั้นควรเลือกตัวผู้ 3 ตัว และตัวเมีย 1 ตัว ถ้าการจับคู่แรกล้มเหลว ลองเปลี่ยนคู่ผสมพันธุ์ด้วยตัวผู้อีกตัวเมื่อได้เวลาแล้ว นำปลาที่เลือกไปไว้ในบ่อผสมพันธุ์ อุณหภูมิน้ำในบ่อควรจะอยู่ที่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮด์ ในตอนกลางวัน และอุณหภูมิควรจะลดลงในตอนกลางคืน การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์

ถ้าจับตาดูปลาให้ดี เราจะเห็นมันเกี้ยวกัน ตัวผู้เริ่มที่จะรังแกตัวเมียเพื่อให้ตัวเมียวางไข่ การเกี้ยวจะเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้เวลาที่ตัวเมียจะวางไข่ ไข่จะถูกวางในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ที่ซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ่อการผสมพันธุ์และการวางไข่มักเกิดในช่วงเช้า

2. เพศของปลา ต้องรู้ว่าตัวไหนผู้ ตัวไหนเมีย ปลาตัวเมียจะตัวอ้วนๆสั้นๆ ครีบอกจะเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว ตัวผู้ผอมยาว ครีบอกใหญ่กว้างกว่า ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่แข็งแรงพร้อมที่จะทำงานจะมีตุ่มเล็กๆใสๆที่บริเวณ หัวและครีบอก เวลาจับคู่มักใช้ตัวเมีย 1 ตัวกับตัวผู้ 2 ตัว เพราะตัวเมียจะมีไข่มาก ตัวผู้จะได้ปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ได้ทัน

3. อายุ ของปลา พ่อแม่พันธุ์ใช้อายุ 4-5 ปี ลำตัวยาวมากกว่า 10-12 นิ้ว ปลาอายุน้อยจะมีเปลือกไข่บาง เมื่อผสมแล้วไข่มักจะเสียก่อนฟักเป็นตัว ปลาแก่เกินไปเปลือกไข่หนา สเปิร์มเจาะเข้าไปไม่ได้

4. ฤดูกาลผสม พันธุ์ จะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน ประเทศไทยจะได้เปรียบกว่าญี่ปุ่นเพราะประเทศไทยเราร้อนนานกว่าผสมได้นาน ฤดูหนาวญี่ปุ่นจะไม่ได้ทำการเพาะเลย บ้านเรามีอุณหภูมิที่เหมาะสม

5. บ่อ ผสมพันธุ์ กักน้ำประปาทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน ให้คลอรีนสลายตัวให้หมด จะได้น้ำสะอาดไม่มีเชื้อโรค เอาเชือกฟางมาทำเป็นพู่ แล้วผูกติดกับท่อให้จมน้ำ ปลาจะไข่ติดกับเชือกฟาง เอาหัวทรายที่ต่อจากปั๊มลมใส่ลงไปในน้ำมีออกซิเจนมากๆ อย่าใช้ปั๊มแบบดูดน้ำพ่น เพราะจะดูดไข่และลูกปลาตายหมด

6. การปล่อย ผสม เอาปลาที่ท้องป่อง 2 ตัวกับตัวผู้ใส่ลงอ่าง หาอะไรมาปิดบังแสง ไม่ให้ถูกรบกวน กันปลากระโดด อย่าตั้งกลางแดด ให้อาหารทุกวันแต่อย่ามากเกินไป ปลาจะวางไข่ติดที่เชือกฟางเป็นเม็ดใสๆ ภายใน 3-7 วัน ปลาท้องแฟบแล้วเอาพ่อแม่ปลาออก เพราะจะกินไข่และลูกหมด

7. การ ฟักไข่ ต้องให้อากาศตลอดเวลา ดูดเศษตะกอนพื้นบ่อกันน้ำเสีย ตัวอ่อนจะพัฒนาในไข่จะเห็นจุดดำๆในไข่คือลูกตา ภายใน 2-3 วันลูกปลาฟักออกจากไข่ จะเกาะติดกับพื้นหรือผนังด้านข้างเห็นเป็นเส้นดำๆเล็กๆ ระยะนี้จะไม่กินอาหารจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ท้องหมดประมาณ 3-4 วัน

การย้ายพ่อ-แม่พันธุ์ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) พ่อ-แม่ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) อาจจะกินไข่ของตัวเองได้ ดังนั้นจึงต้องย้ายออกจากบ่อ อาจจะย้ายไปอีกบ่อที่มีคุณภาพน้ำดีและอุณหภูมิใกล้เคียงกัน หรือ จะย้ายกลับไปที่บ่อก็ได้ไข่และลูกปลาอาจจะตายเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นกังวลที่จะปกป้องไข่ทุกฟอง

การดูแลรักษาไข่ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) ไข่ต้องอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 5 องศาฟาเรนไฮด์ทั้งกลางวันและกลางคืน ไข่จะตายถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะเริ่มฟักภายใน 4-7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ซึ่งควรอยู่ที่ประมาณ 68-75 องศาฟาเรนไฮด์ มันไม่แปลกที่เชื้อราจะมารบกวนไข่ ดังนั้นอาจต้องเพิ่มสารต้านเชื้อราในน้ำ เช่น malachite green และควรมีความเข้มข้นประมาณ 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

หลังจากฟักไข่ ลูกปลาจะหาที่ปลอดภัยโดยสัญชาตญาณ และจะหลบซ่อนตัวอยู่ในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ลูกปลาสามารถอยู่รอดได้ 2-3 วัน จากอาหารที่ถุงไข่แดง (yolk sacs) หลังจากใช้หมดแล้วก็จะต้องให้อาหารมัน ลูกปลาต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และระยะตัวอ่อนในช่วง 2-3 วันแรกต้องทำทุกทางที่จะเพิ่มออกซิเจนจำนวนมากให้แก่ลูกปลาในช่วงนี้ และต้องแน่ใจว่ามีการให้ออกซิเจนในน้ำ ควรจะรู้ว่า ต้องให้อาหารลูกปลาได้เมื่อพวกมันเริ่มที่จะว่ายน้ำไปมาในความลึกระดับกลาง ของน้ำ


8. การ อนุบาล ในวันที่ 4 ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำขึ้นมา เริ่มให้อาหาร นิยมใช้ไข่แดงต้มสุกป่นให้กิน จะเกิดการกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ให้ไข่แดงต้มนานประมาณ 7วัน อย่าให้มากเกินจะทำให้น้ำเน่า ทำให้ปลาตาย วิธีให้อาหารทีละน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือ 5-6 ครั้งต่อวัน ถ้าเห็นว่าน้ำจะเน่าเสีย รีบถ่ายน้ำ 20-30% ระวังอย่าดูดลูกปลาออก เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 2 ใช้อาหารปลาลอยน้ำที่มี สาหร่ายสไปรูลิน่า โปรตีน โปรไบโอติคกับเบต้ากลูแคนผสมอยู่มาบดละเอียดคลุกผสมกับไข่แดงต้มโรยให้ลูก ปลากิน 3-4 วัน ลูกปลาเริ่มรู้จักอาหาร อาหารโปรตีนสูงลูกปลาจะย่อยได้ดีกว่าอาหารโปรตีนต่ำๆ หลังจากนั้นหยุดให้ไข่แดงต้ม เหลือแต่อาหารบดอย่างเดียว โปรไบโอติคจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหารลูก ปลา ช่วยยับยั้งให้จุลินทรีย์ที่ก่อโรคไม่เจริญเติบโต สไปรูลิน่าและเบต้ากลูแคน จะช่วยให้ลูกปลามีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี

9. การ คัดลูกปลา ลูกปลาอายุ 1 เดือน เลือกลูกปลาที่ผิดปกติ ป่วย ทรงเสียออกจากลูกปลาที่มีคุณภาพ ส่วนสีของปลาจะดูช่วงนี้ไม่ได้ เพราะสีจริงยังไม่แสดงออก ตำแหน่งสีดำจะกลายเป็นสีแดงเมื่อปลาโตขึ้น


การคัด เลือกพันธุ์พันธุ์ปลาคาร์พหรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นั้นจำเป็นต้องมีความพิถีพิถันในการคัดเลือกเพราะ มีความสำคัญที่ลูกปลาที่ออกมาจะมีคุณภาพและขายได้ราคา เมื่อทราบถึงปัจจัยต่างๆเป็นเกณฑ์กำหนดในการคัดเลือกให้ได้ปลาที่มีคุณภาพแล้ว ตลอดจนแนะนำให้เพื่อนที่ต้องการจะทดลองเลี้ยงปลาให้ได้คุณภาพที่สมบูรณ์ จนนำปลาที่มีคุณภาพมาจำหน่ายในท้องตลาดที่ได้รับความนิยม นะครับ...


การเลี้ยงปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp)


ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับ เป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว

ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

ประเภทของปลาคาร์พ

ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้าทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่

1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ
  
2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง
  
3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็นแฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y
  
4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา
  
5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป
  
6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
  
7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย
  
8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ
  
9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)
  
10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ
  
11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก
  
12. ตันโจ (Tancho)  เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้
  
13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี


 การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนีย ที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

 อาหารและการเลี้ยงดู

ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้



 โรคและการรักษา

1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

วิธีรักษา : ใช้ ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

3.หางและครีบเน่า  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

4.เนื้อแหว่ง  เกิด จากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

5.เชื้อราบนผิวหนัง  เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

วิธีรักษา : นำ ปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

6.ผิวหนังขุ่น เกล็ด พอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

7.ลำใส้อักเสบ  เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

วิธีรักษา :  ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

8.เห็บ  เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

9.หนอนสมอ ศัตรู ร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

10.พยาธิเส้นด้าย  ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย

วิธีเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก Catfish Plastic pond



เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนน้ำ หรือในเขตพื้นที่สูง ฐานะยากจนมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ดังนั้นการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวที่ยากจนไม่ให้ขาดแคลนอาหารโปรตีน

ในปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกรเนื่องจากเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว อีกทั้งยังทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากรสชาติดี และราคาไม่แพง

การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติก ถ้ามีพื้นที่จำกัด การเลี้ยงในบ่อพลาสติกก็เป็นทางออกที่ดี และประหยัด โดยที่ในบ่อพลาสติกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี

สำหรับวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติกก็เพื่อ
1. เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการเลี้ยงปลา เพื่อเป็นอาหาร บริโภคเอง
2. เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
3. เป็นการพัฒนาอาชีพการลี้ยงปลาแบบพอเพียงไปสู่ระบบการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์
4. ให้มีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคในครัวเรือนและในชุมชน

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติกมีอยู่หลายประการด้วยกันได้แก่
1. ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และสามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่
2. การก่อสร้างบ่อเลี้ยงง่าย สะดวกและรวดเร็ว
3. ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงเพียง 90 – 120 วัน
4. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
5. ปลาดุกสามารถเลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวก นอกจากจับมาบริโภคในครัวเรือนแล้ว ส่วนที่เหลือก็นำไป ขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว



ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติกมี 4 ขั้นตอน
1. การจัดเตรียมบ่อขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร ก้น 1 เมตร จัดทำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้าพลาสติกสีดำกันน้ำซึม
2. การปรับสภาพน้ำในบ่อปลาเปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่ จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และแร่แม๊กนี เซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการ เน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
3. ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ
2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้
4. การทำอาหารปลาดุกบิ๊กอุย

การทำอาหารปลาดุกบิ๊กอุย

ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน


เกร็ดความรู้วิธีเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

การเลือกสถานที่สร้างบ่อปลาดุกบิ๊กอุย
-อยู่ใกล้บ้าน
-อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
-มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก

การเตรียมน้ำให้ปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
-น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
-น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้

การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
2. อัตราการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
3. การปล่อยปลาปลาดุกในบ่อพลาสติก
แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.

การให้อาหารปลาปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็กอาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากินให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็น

6. การถ่ายเทน้ำปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสียไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงน้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้

ต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
ค่าพลาสติกปูพื้นบ่อ (PVC # 3.5x 6 ม.) 500 บาท
ค่าอาหารเม็ด (เลี้ยงนาน 3 เดือน #30 กก. ) 500 บาท
ค่าพันธุ์ปลาดุก (ขนาด 1 นิ้ว 500 ตัว) 500 บาท
รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 บาท

การจับปลาปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
เลี้ยง 3-4 เดือน ได้ปลาขนาด 100-200 กรัม/ตัว
อัตรารอดประมาณ 80-90 %
ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท

วิธีเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน Catfish pond



การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และใน กระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาด ไม่เกิน  1  ไร่

การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาดุก
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้
1. สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
2. สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
3. สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. ทางคมนาคมสะดวก

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาดุก

มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1. บ่อใหม่
- ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ
- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

2. บ่อเก่า
- ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส
- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน
- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ
- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียว

ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5


การเตรียมพันธ์ปลาดุก
การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก
- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก
- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน

การปล่อยลูกปลาดุกในบ่อเลี้ยง
เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

อัตราการปล่อย
เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง

อาหารและการให้อาหาร
ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

การเลือกซื้ออาหาร

ลักษณะของอาหาร
- สีสันดี
- กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน
- ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น
- การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
- อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นรา

ประเภทของอาหารสำเร็จรูป
- อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร
- อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร – 1 เดือน
- อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน
- อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน - ส่งตลาด

วิธีการให้อาหารปลาดุก

เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้อง ให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหาร ลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่าน ให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1 เดือน ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจน

ลูกปลามีอายุ 2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร 2 มื้อ ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่น อาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30-40 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด