EP.2 ข้อดีของการเลี้ยง ห่าน สัตว์เศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ และ สร้างอาชีพ ตอนที่ 2 | เลี้ยงห่านสร้างรายได้



รับชมคลิปวีดีโอแนะนำการเลี้ยงห่านทั้งสามตอนได้ที่นี่  ตอนที่1 | ตอนที่2 | ตอนที่3


โดยทั่วไปการเลี้ยงห่าน เลี้ยงเพื่อขายเป็นห่านเนื้อ ส่วนการที่จะเริ่มเลี้ยงต้องดูความต้องการของตลาด อาทิเช่น ความต้องการของตลาดสำหรับห่านเนื้อมีความต้องการมากในเทศกาลตรุษจีน ดังนันผู้เลี้ยงจะต้องเลี้ยงล่วงหน้าก่อนเทศกาลตรุษจีน ประมาณ 3-4 เดือนเป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงห่านก็มีการเลี้ยงกันตลอดทั้งปี
การฟักไข่ห่าน
ระยะเวลาในการฟักไข่ห่าน
1- ห่านพันธุ์ทั่วๆไป   30-32 วัน
2- ห่านพันธุ์แคนนาดาและพันธุ์อียิปต์เซี่ยน  35 วัน
วิธีการฟักไข่ห่านมีอยู่ 2 วิธี คือ
1-     การฟักด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้แม่ไก่ แม่เป็ดเทศ แม่ไก่งวงหรือแม่ห่านเอง แม่ไก่สามารถฟักได้ครั้งละ 5-6 ฟอง เป็ดเทศและแม่ไก่งวงฟักได้ครั้งละ 8-10 ฟอง แม่ห่านฟักเองจะฟักได้ ครั้งละ 10-12 ฟอง

วิธีฟักไข่
ผู้เลี้ยงจะต้องจัดทำรังฟักไข่สำหรับให้แม่ไก่หรือแม่ห่านกกไข่ พื้นรังไข่รองด้วยหญ้าแห้งหรือฟางข้าว ก่อนให้แม่ไก่หรือแม่ห่านฟักไข่ จะต้องทำการกำจัดไรหรือเหาตามตัวเสียก่อน รังฟักไข่ควรจะอยู่ไกล้ที่ให้อาหารและน้ำ และอยู่ในที่ที่แม่ไก่หรือแม่ห่านไม่ถูกรบกวนในระหว่างการฟักไข่ หากมีการช่วยกลับไข่ด้วยวันละ 3-4 ครั้งจะเป็นผลดี ควรทำเครื่องหมายตามด้านยาวของฟองไข่ไว้กันการสับสน การกลับไข่ให้กลับ 180 องศา โดยพลิกกลับเอาด้านตรงกันข้ามขึ้น
 2- การฟักไข่โดยใช้ตู้ฟัก
ขั้นตอนในการฟักไข่ห่านโดยตู้ฟัก มีขั้นตอนดังนี้
1- การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่ห่านเข้าฟัก – ไข่ห่านที่นำมาเข้าตู้ฟักควรมีขนาดที่สม่ำเสมอ ลักษณะของฟองไข่รูปร่างต้องไม่กลมหรือแหลมเกินไป เปลือกไข่เรียบไม่มีขรุขระไม่มีรอยยุบ ร้าวหรือแตก เพราะจะทำให้การฟักออกไม่ดี แล้วจะส่งผลให้อากาศภายในตู้เสียอีกด้วย
2- การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก - ตามปกติแล้วจะเก็บไข่ห่านเข้าตู้ฟักทุก 7 วัน ในกรณีที่มีไข่ห่านจำนวนไม่มาก แต่ถ้ามีมากจะนำเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บรักษาไข่ห่านเพื่อรอการนำเข้าตู้ฟัก ควรเก็บในห้อง อุหภูมิ 50-65 องศาฟาเรนไฮต์และมีความชื้น 75 % ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้ไข่แดงติดเปลือก
3- การทำความสะอาดเปลือกไข่ -  ไข่ห่านที่จะนำมาฟักจะต้องทำความสะอาดทันทีที่เก็บมาจากรังไข่ ต้องไม่มีมูลหรือสิ่งสกปรกติดเปลือกไข่ควรใช้กระดาาทรายหยาบขัดออกให้หมด อย่าใช้วิธีล้างน้ำจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุนเข้าสู่ภายในฟองไข่

และทำอันตรายต่อไข่ที่อยู่ภายในได้ ในขณะที่ทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดไข่ออกเสียแต่แรก ถ้านำไข่ ที่สกปรกบุบหรือแตกร้าวเข้าฟักไข่ จะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อโรค ในสภาวะความร้อนในตู้ฟักไข่ จะทำให้ไข่แตกเน่า ส่งกลิ่นเหม็นภายในตู้ฟักและเกิดความสกปรกได้
4- การรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรค - ไข่ห่านที่ได้รับกาารคัดเลือกไว้สำหรับฟักทุกๆ ฟอง หลังจากทำความสะอาดเปลือกแล้ว ให้นำมารมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลูกห่านตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยจะรมควันไข่ห่านที่เก็บมาจากคอกก่อนนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ การรมควันใช้ด่างทับทิม 20 กรัม ฟอร์มาลีน 40% จำนวน 40 ซีซี ต่อพื้นที่ตู้รมควัน 100 ลูกบาศก์เมตร

วิธีทำคือ
ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ในชามกระเบื้อเคลือบแล้วใส่ในตู้รมควัน เทฟอร์มาลีนลงในชามกระเบื้อเคลือบแล้วรีบปิดตู้ทันที ระวังห้ามสูดดมควันฟอร์มาลีนมัลดีไฮด์ เพราจะทำให้เยื่อหุ้มจมูกและตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นเปิดตู้รมควันเพื่อระบายควันแล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ สิ่งสำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชั่วโมง และไม่รมควันไข่ห่านที่กำลังเจาะเปลือกไข่ออก
5- การฟักไข่ห่าน ระยะที่ 1-10 วันของการฟัก - ไข่ที่เก็บในห้องเก็บไข่ จะต้องนำออกมาวางทิ้งที่อุณหภูมิภายนอกประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้าตู้ฟักไข่ แต่ควรระวังห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชั่วโมง เพราะถ้ารมควัน จะทำให้ไข่เชื้อตายได้ ในช่วงที่อยู่ในตู้ฟักจะต้องมีอุณภูมิ100 องศาฟาเรนไฮด์ กลับไข่วันละ 6 ครั้ง เป็นอย่างน้อย


6- การกลับไข่ วางไข่ห่านในถาดฟัก โดยนอนราบกับพื้นถาด โดยไม่มีลวดกั้น วางไข่ลงในถาดเต็มถาดเหลือช่องว่างประมาณวางไข่ห่านได้ 2 ฟอง เพื่อให้ไข่ กลิ้งได้เมื่อเวลาเราเอียงถาดไข่ การกลับไข่ด้วยเครื่องฟักไข่โดยอัตโนมัติก็โดยการตั้งเครื่องกลับไข่ให้ถาดเอียงประมาณ 10-15 องศา ไข่ห่านก็จะกลิ้งไปในระยะทางเท่ากับไข่ 2 ฟอง ถ้าเป็นเครื่องฟักไข่ธรรมดาสามารถกลับไข่ได้โดยใช้มือสวมถุงมือที่สะอาด ลูบไปบนไข่ในถาดให้ไข่กลิ้ง หรือเคลื่อนที่ออกจากเดิมก็ได้ หรือจะทำคันโยกให้ถาดเอียงตามองศาดังกล่าว ในกรณีที่ไข่กลิ้งชนกันแตกหรือร้าว ให้ลดความลาดเอียงลงปรับให้เอียงพอดี หลักการวางไข่ในแนวนอน คือทำอย่างไรให้ไข่ห่าน เวลากลับไข่ให้ไข่กลิ้งไปได้รอบตัวหรือ 360 องศา แต่ถ้าใช้ไม่อัดเจาะรูก็จะทำให้พื้นลื่นเกินไป ไข่จะกลิ้งเร็วและเกิดแรงกระทบกันและร้าวได้
7- การฟักไข่ห่านในระยะที่ 2 ที่ 11-28 วันของการฟัก - ในวันที่ 11 ของการฟักจะนำออกจากตู้ฟักมาส่องไข่เพื่อหาไข่ห่านที่ไม่มีเชื้อและเชื้อตายออก เมื่อส่องไข่เสร็จแล้วนำไข่ที่มีเชื้อเข้าตู้ ซึ่งตู้ฟักต้องเป็นตู้ทีมีระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออกจากกัน เพราะว่าในช่วงวันที่11-28 ของการฟัก จะเปิดให้ความร้อนเป็นเวลาแต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา จะปิดพัก12.00 น. ครบ 1 ชั่วโมง เวลา 13.00 น.จะทำการพ่นน้ำที่ไข่ห่านทุกฟองให้เปียกแล้วทิ้งไว้อีก 1 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลา 14.00 น. จึงปิดตู้แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่28 ของการฟัก อุณภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรงและฟักออกดีขึ้น

8- การฟักไข่ห่านในระยะที่3 ที่ 29-31 วันของการฟัก - ในวันที่ 28 ของการฟักจะนำไข่ออกจากตู้ฟักไข่เพื่อนำมาส่องหาไข่ที่มีเชื้อแข็งแรงนำเข้าตู้เกิดไข่ ไข่ที่เชื้อตายไปแล้วจะนำออกไป การนำไขมีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนนอนในช่วงนี้จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่นน้ำแต่อย่างใด อุณหภูมิตู้เกิด ใช้อุณหภูมิ 98-99 องศาฟาเรนไฮด์ ไข่ห่านที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในฟองไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของฟองไข่ ตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกันเพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดีจะทำให้ลูกห่านเกิดน้อยลงและที่สำคัญคือไม่แข็งแรงและทำให้อัตรการตายสูงในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง ลูกห่านจะเจาะเปลือกออกในวันที่ 30 ถึงวันที่ 32
การส่องไข่ฟัก
การส่งไข่ คือวิธีการตรวจดูว่าไข่ฟองไหนมีเชื้อ ไม่มีเชื้อ และฟองไหนเชื้อตาย การสองไข่ควรทำในห้องมืดโดยใช้ที่ส่องไข่ส่องดู หรือจะเอาไข่มาส่องกับแสงสว่งดูก็ได้ ควรส่องดู2ครั้ง ครั้งแรกเมื่อไข่ฟักไปแล้ว 10 วัน และส่องครั้งที่ 2 เมื่อครบ 28 วัน หรือเหลือ 3 วันก่อนกำหนดออกเป็นตัว
เมื่อส่องไข่ดูครั้งแรกพบไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื่อตาย จะต้องนำออกไปจากตู้ฟักทั้งหมด เพื่อไม่ไห้กระทบกระเทือนต่อการฟักออกไข่ที่มีเชื้อ ไข่ที่ไม่มีเชื้อจะมองเห็นเหมือนไข่ธรรมดา ไข่เชื้อตายจะมีจุดดำติดอยู่กับเยื่อเปลือกไข่ซึ่งจะมีวงเลือดปรากฎอยู่ให้เห็น ส่วนไข่ที่มีเชื้อและเจริญเติบโตจะเห็นเป็นจุดดำที่ส่วนท้ายของไข่ใกล้กับช่องอากาศและมีเส้นเลือดกระจายออกไปรอบๆ จากจุดนี้เมื่อส่องไข่ครั้งที่ 2 จะส่องเมื่อไข่ฟักไปแล้ว 28 วัน จะพบไข่ที่เชื้อเจริญ และไข่เชื้อตาย ไข่ที่เชื้อเจริญสมบูรณ์ดีและกำลังจะฟักออกเป็นตัวจะเห็นเงาสีดำทึบและมีการเคลื่อนไหวของตัวลูกห่าน ช่องอากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1/3-1/2 ของฟองไข่ ส่วนไข่เชื่อตายจะเห็นเป็นเส้นเลือดที่หยุดการเจริญ หรือเจริญแบบไม่สมบูรณ์ ช่องอากาศไม่เพิ่มขึ้น หรือหากเห็นเป็นสีดำทึบแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกห่าน
https://www.anragon.com/2020/06/ep3-teaching-geese-raising-economy.html


ดลรวี ภัทรกุลพิมล
อาสาปศุสัตว์ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Website : https://www.anragon.com/
Facebook : https://www.Facebook.com/LivestockNJ
Youtube :  https://goo.gl/F6d8A4


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น