โรคอุบัติใหม่ ระบาดครั้งแรกในเมืองไทย ม้าติดเชื้อโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ที่เรียกว่า African Horse sickness



สวัสดีครับ พบกันอีกเช่นเคย กับผม ดลรวี ภัทรกุลพิมล อาสาปศุสัตว์ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร นะครับ สำหรับบทความนี้เป็นบทความประกอบคลิปนะครับ (ชมคลิปประกอบ คลิ๊กที่นี่ https://youtu.be/kcz86OHS9lQ ) เหตุผลที่ผมทำบทความและคลิปที่ผมทำขึ้นในช่วงนี้ เพราะว่ามีข่าวใหญ่ของการระบาดโรคสัตว์เกิดขึ้นครั้งใหม่ ซึ่งไม่เคยพบการระบาดในเมืองไทยมาก่อน ครั้งนี้เป็นการระบาดครั้งแรกในเมืองไทยของเรา นั้นก็คือ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า หรือที่เรียกกันว่า African Horse sickness หลายๆท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่ามีการระบาดในม้า ล้มตายกันหลายสิบตัว  ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพบการติดเชื่อไวรัสตัวนี้ในม้า วันที่ 24 มีนาคม 2563  พบการแสดงอาการของโรคในม้า วันที่ 25 มีนาคม 2563  และม้าเสียชีวิตจำนวนมากในวันที่ 25-26 มีนาคม 2563  ซึ่งถือว่าเป็นการติดเชื่อที่เร็ว ฉับพลันและรุ่นแรงมาก คือม้าได้รับเชื่อโรคจำนวนมากนั้นเอง ผมในฐานะ อาสาปศุสัตว์ ได้รับคำถามมามากในช่วงนี้ คงเพราะเป็นช่วงที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 ร่วมอยู่ด้วย และหลายท่านคงเกิดความวิตกกังวล ว่าเกี่ยวข้องกันไหม โรคนี้จะแพร่สู่คนหรือไม่ จะไปซ้ำเติมกับเหตุการทมี่เป็นอยู่หรือไม่


ผมขอตอบตรงนี้เลยนะครับว่าประเด็นม้าที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ล้มตายยืนยันว่าสถานการณ์การระบาดของโรคที่เกิดขึ้น “เป็นโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า “ไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และไม่ใช่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ  COVID-19 นะครับ  มีคำยืนยันจากท่านอธิปดีกรมปศุสัตว์แล้วนะครับ ซึ่งผมจะมีคำแถลง และการให้สำภาษณ์สื่อมวลชนของท่านให้ชมกันในคลิปนี้ด้วยนะครับ เพื่อเป็นการยืนยัน และเพื่อความสบายใจของทุกท่านนะครับ จะได้ไม่ต้องวิตกกังลเกี่ยวโรคนี้..ก่อนอื่นเรามาทำเข้าใจกันให้มากขึ้นเรามาทำความรู้จักกับโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness นี้กันก่อนนะครับ ว่าคืออะไร...


สาเหตุ ของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness
เกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม family Reoviridae  genus  Orbivirus เชื้อนี้ถูกยับยั้งได้ด้วยความร้อนมากกว่า 140F สารละลายฟอร์มาลิน Propriolactone อนุพันธ์ของ acetylethyleneimine หรือ การฉายรังสีและถูกทำลายได้ด้วยความเป็นกรดด่างที่ pH น้อยกว่า 6 หรือมากกว่า 12 นอกจากนี้สามารถใช้น้ำฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรดเช่น 2%กรดอะซิติก หรือ กรดซิตริก ในการฆ่าเชื้อโรคได้...


สัตว์ที่ไวต่อการเกิดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness
พบการระบาด ใน ม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ และสุนัข โดยมักทำให้ม้าและล่อแสดงอาการป่วยรุนแรงและตาย ส่วนในลาและม้าลายจะแสดงอาการแบบไม่รุนแรงทั้งนี้ไม่พบรายงานการติดต่อจากสัตว์สู่คน และพบการระบาดน้อย ใน อูฐ และสุนัข   มีระยะฟักตัวของโรคนี้ ประมาณ 2-21วัน


การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness
ก่อนหน้านี้ไม่มีรายงานการเกิดโรคนี้ในประเทศไทย แต่พบรายงานการเกิดโรคในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ประเทศอียิปต์ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค ปากีสถาน และอินเดีย - ล่าสุดพบโรคนี้ระบาดในม้าของเมื่องไทย ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา พบเป็นครั้งแรกในเมืองไทย


การติดต่อของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness
1.จากการถูกแมลงกัด เช่น ตัวริ้น genusCulicoidesได้แก่ Culicoides  imicola และ Culicoides  bolitinosยุง และแมลงวันดูดเลือดใน genus Stomoxys และ Tabanus

2.สัตว์ที่กินเนื้อ สามารถติดโรคจากการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อ


อาการของ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness

สัตว์ที่ติดเชื้อโรคกาฬโรคแอฟริกา จะแสดงอาการได้ 4 รูปแบบ คือ

1.แบบเฉียบพลันรุนแรง (peracute หรือ pulmonary form)
สัตว์จะมีไข้สูง และแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง รูจมูกขยาย ยืดคอไปข้างหน้า หายใจลำบาก ไอ มีน้ำมูกเป็นฟองสีเหลืองขุ่น (frothy serofibrinous) สัตว์จะตายภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากแสดงอาการ

2.แบบกึ่งเฉียบพลัน (subacuteedematousหรือ cardiac form)
สัตว์จะมีไข้สูงประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง และมีอาการบวมน้ำบริเวณขมับ (supraorbitalfossae) เปลือกตา แก้ม ริมฝีปาก ลิ้น บริเวณขากรรไกร คอ ไหล่ และหน้าอก แต่ไม่พบการบวมน้ำที่ส่วนล่างของลำตัว เช่น ขา นอกจากนี้จะมีอาการซึม เสียดท้อง มีจุดเลือดออกบริเวณลิ้น และ เยื่อบุตา สัตว์จะตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว หากสัตว์หายป่วย อาการบวมน้ าจะลดลงใน 3-8 วัน

3.แบบเฉียบพลัน (acute หรือ mixed form)
สัตว์จะแสดงอาการทั้งทางระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะบวมน้ำ

4.แบบไม่รุนแรง (horsesickness fever)
สัตว์จะมีไข้ประมาณ 3-8 วัน โดยไข้จะลดในตอนเช้าและมีไข้สูงในตอนบ่ายอาการอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ซึม เบื่ออาหาร บวมน้ำบริเวณขมับ เยื่อเมือกมีจุดเลือดออก และหัวใจเต้นเร็ว สัตว์ที่ป่วยแบบไม่รุนแรงมักหายจากอาการป่วยได้

สรุปการพบร่องรอยของโรคจากการผ่าซากในกรณีการเกิดโรคแบบเฉียบพลันรุนแรง (peracute หรือ pulmonary form) พบการบวมน้ำของปอด และมีน้ำในช่องอก ส่วนการเกิดโรคแบบเฉียบพลัน มักพบของเหลวเป็นฟองตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงปอด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องอกและช่องท้องขยายใหญ่และบวมน้ำ ในกรณีการเกิดโรคแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacuteedematousหรือ cardiac form) พบการบวมน้ แบบวุ้น (yellow   gelatineous) แทรกในชั้นใต้ผิวหนัง และในกล้ามเนื้อบริเวณหัว คอ และไหล่ พบน้ าใน   เยื่อหุ้มหัวใจ (hydropericardium) และกล้ามเนื้อหัวใจมีจุดเลือดออก นอกจากนี้อาจพบการเกิดโรคในทางเดินอาหาร เช่น พบการบวมน้ำ และมีจุดเลือดออกของชั้นเยื่อบุลำไส้ใหญ่ (cecum)


การควบคุมและป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sickness

1.ควรตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำหากพบสัตว์ป่วยต้องแยกออกจากฝูง เพื่อป้องกันการเกิดโรค

2.กำจัดแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรค หรือป้องกันไม่ให้แมลงดูดเลือดสามารถดูดเลือดสัตว์ได้ โดยการให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้ง หรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือดโดยเฉพาะในเวลาที่แมลงดังกล่าวออกหากิน เช่น ช่วงเวลาพลบค่ำ ถึงเช้ามืดหรือใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสมพ่นบริเวณคอกและตัวม้า

3.กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค

4.กรณีที่นำสัตว์ใหม่เข้าฝูง ควรกักไว้อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อตรวจร่างกายและสังเกตอาการป่วย

5.ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค


หมายเหตุ : ในคลิปจะมีคลิปคำแถลงของท่านอธิปดีกรมปศุสัตว์ และการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนะครับ เพื่อเป็นคำยืนยัน และเพื่อคว่ามเข้่าใจต่อโรคนี้อย่างถูกต้องนะครับจากคำแถงการและการให้สัมภาษณ์ สื่อต่างๆของท่านอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต  คงจะไขข้อสงสัย และเข้าใจตรงกันแล้วนะครับว่าโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า - African Horse sicknessโรคนี้ระบาดในสัตว์เท่านั้น ไม่ติต่อสู้คนนะครับ และไม่เกี่ยวข้อใดๆกับ โรคไวรัส   COVID-19 ที่ระบาดกันอยู่นี้นะครับ  ถึงตรงนี้คงจะสบายใจกันแล้วนะครับ สำหรับท่านใดเห็นว่า บทความและคลิปนี้มีประโยชน์สามารถกดแชร์ และส่งต่อๆ กันไป ได้นะครับ ผมไม่หวงนะครับสามารถแชร์ได้เพื่อเป็นวิทยทาน แหล่งความรู้ให้กับคนทั่วไปเข้าใจนะครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ เงินทองไหลมาเทมากันทุกๆท่านนะครับ สำหรับบทควมและคลิปนี้ผมขอตัวลาไปก่อนพบกันใหม่ในบทความและคลิปต่อๆไปของผมนะครับ อย่าลืม กดไล กดแชร์ กด ติดตามกันด้วยนะครับ สวัสดีครับ ...


ดลรวี ภัทรกุลพิมล
อาสาปศุสัตว์ดีด่น ระดับจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Facebook : https://www.Facebook.com/LivestockNJ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น